Page 134 - kpiebook65063
P. 134

วงเงินงบประมาณในการดำเนินการไม่ได้สูงมากนัก ประกอบกับการที่มีผู้สูงอายุเกินร้อยละ 20

               ของพื้นที่ ทำให้ในการดำเนินงานจะต้องมีการนำเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการทั้งในส่วนที่เป็น
               เครือข่ายในพื้นที่เพื่อพัฒนาอาสาในการดูแลคนในพื้นที่จากจุดเริ่มต้นที่เกิดจากการนำของคนใน

               เทศบาลตำบลแม่สะเรียงในแต่ละชุมชน สร้างเครือข่ายอาสาในพื้นที่ในทุกช่วงอายุ เพื่อลดในส่วน
               ของกำลังคนและงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุ และเพื่อให้อาสาในพื้นที่สามารถที่จะดูแล
               ผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องจึงมีการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพโดยการอบรมทำให้อาสาสามารถที่จะดูแล

               ผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง รวมถึงความสามารถของเทศบาลตำบลแม่สะเรียงในการดึงเครือข่าย
               นอกพื้นที่ในส่วนของสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยในการพัฒนาการทำงานโดยการพัฒนา               ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               แอปพลิเคชัน เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาการให้บริการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของ
               COVID 19 โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางเทศบาลในการดำเนินงานด้านดังกล่าว ซึ่งการรักษา
               ความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายของเทศบาลตำบลแม่สะเรียงที่ไม่ได้มีเพียงหน่วยงานในพื้นที่

               แต่ยังคงรวมถึงหน่วยงานนอกพื้นที่มาช่วยในการดำเนินงานในพื้นที่ทำให้สามารถลดงบประมาณ
               และกำลังคนในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ และลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณะ

               จากการดึงศักยภาพของเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่มาร่วมดำเนินงาน (2) การสร้างผลงาน
               ให้เห็นในเชิงประจักษ์และยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ความตั้งใจในการดูแลผู้สูงอายุ
               และทำให้เห็นผลจริงทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมกิจกรรม ในการดำเนินงานของ

               เทศบาลตำบลแม่สะเรียงทุกครั้งบุคลากรของจะเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการให้ประชาชน
               ในพื้นที่เห็นเป็นประจักษ์ก่อนที่จะมีการชวนกันดำเนินงาน และด้วยอาณาเขตของพื้นที่รับผิดชอบ

               ของเทศบาลตำบลแม่สะเรียงที่ไม่กว้างขวางมากนัก จึงทำให้บุคลากรของเทศบาลแม่สะเรียง
               สามารถกระจายตัวได้ทุกชุมชน และด้วยจุดเด่นของพื้นที่ของตำบลแม่สะเรียงที่ไม่กว้างขวาง
               มากนักทำให้คนในชุมชนส่วนใหญ่รู้จักกันรวมถึงการทำให้ตัวแทนของเทศบาลในแต่ละชุมชน

               สามารถที่จะเข้าถึงได้ทุกครัวเรือน ทำให้เมื่อมีการทำงานเชิงรุกของเทศบาลการชักชวนคนใน
               ชุมชนเข้ามาร่วมทำงานจึงทำให้สามารถดำเนินการได้ไม่ยากมากนัก รวมถึงตลอดระยะเวลาของ       ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               การจัดบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลแม่สะเรียงที่มีการเปิดโอกาสให้กับประชาชนในพื้นที่
               เข้ามามีส่วนร่วมในทุกบริการโดยการเข้ามาเป็นเครือข่ายจิตอาสา ซึ่งทำให้ประชาชนที่เป็น
               จิตอาสาเห็นถึงกระบวนการทำงาน และเห็นเป้าหมายการทำงานของเทศบาลที่มีเป้าหมาย

               เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการดำเนินงานที่มีผลงานเชิงประจักษ์ทำให้มีการบอกต่อ
               และการชักชวนในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายจึงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรมของเทศบาล












                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   12
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139