Page 133 - kpiebook65063
P. 133
สำหรับการพัฒนานวัตกรรมในระยะที่สาม (พ.ศ. 2563-2564) มีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน
หลัก ๆ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการจัดทำบริการ
สาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุโดยการจัดทำแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการจัดเก็บและการเก็บประวัติ
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ขั้นตอนที่ 2 เป็นการขยายเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่เพื่อให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง
การรักษา รวมถึงการให้บริการด้านสุขภาพด้านต่าง ๆ การจัดทำแผนที่เพื่อดูแลผู้สูงอายุ และ
ภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID 19 รวมถึงยังมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้สามารถเป็น
แกนนำหรือส่วนประสานงานในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและการปฏิบัติตัวเมื่อต้องเผชิญกับ
สถานการณ์ COVID 19 ซึ่งทางเทศบาลและแกนนำชุมชนเป็นผู้ประสานงานและค้นหาเครือข่าย
จิตอาสาเพิ่มเติม ทำให้ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณะของผู้สูงอายุได้ถึงแม้ว่า
จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ (การแพร่ระบาดของ COVID 19)
ความท้าทายและความสำเร็จของโครงการ
จากการดำเนินโครงการ STC จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้
ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณะที่ทาง
เทศบาลตำบลแม่สะเรียงจัดขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการดำเนินการตามโครงการ STC ในแต่ละช่วง
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ระยะเวลาก็มีปัญหาและอุปสรรคหรือความท้าทายที่สำคัญ โดยในช่วงแรก (พ.ศ. 2558-2559)
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการสร้างความเข้าใจและการจัดรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม การสื่อสาร
ทำความเข้าใจและกลยุทธ์เคาะตามบ้านเป็นสิ่งที่เทศบาลตำบลแม่สะเรียงใช้ในการดำเนินงาน
รวมถึงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์เป็นส่วนสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้ามาร่วม
ในโครงการมากขึ้น ในขณะที่ระยะที่สอง (พ.ศ. 2560-2562) เป็นความท้าทายในการเพิ่มจำนวน
จิตอาสาและการเปลี่ยนผู้สูงอายุติดบ้านให้เข้ามาติดสังคมมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ที่ทางเทศบาลตำบล
แม่สะเรียงใช้ในการดำเนินงานคือการให้คนใกล้ชิดเข้าไปชักชวนมาเป็นจิตอาสา และคนใกล้ชิด
ชักชวนมาทำกิจกรรมมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนที่ในแต่ละชุมชนโดยเพิ่มจากกิจกรรม
ทางศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น และสำหรับระยะสุดท้าย (พ.ศ. 2560-2562) ความท้าทายที่สำคัญ
คือ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID 19 โดยทางเทศบาลได้นำ
เทคโนโลยีเข้ามาหนุนเสริมในการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ก็ทำให้เผชิญปัญหาใหม่คือการเข้าถึง
เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ดังนั้นทางเทศบาลตำบลแม่สะเรียงจึงมีการเลือกและปรับรูปแบบ
ให้สามารถใช้ได้ทุกคน ซึ่งสะท้อนในแอปพลิเคชันรู้แล้วรอด โดยใช้ปุ่มเดียวเบ็ดเสร็จ
สำหรับปัจจัยความสำเร็จของโครงการดังกล่าวที่สำคัญคือ (1) การขยายเครือข่ายและ
พัฒนาศักยภาพของเครือข่าย เนื่องจากพื้นที่เขตตำบลแม่สะเรียงเป็นพื้นที่ที่อยู่เขตห่างไกล รวมถึง
122 สถาบันพระปกเกล้า