Page 142 - kpiebook65063
P. 142

ทรัพยากรในการดำเนินงาน


                     ในส่วนของทรัพยากรในการดำเนินงาน ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ได้จัดสรร

               ออกเป็นสี่ส่วน คือ ทรัพยากรด้านงบประมาณ ทรัพยากรด้านบุคลากร ทรัพยากรด้านเวลา และ
               ทรัพยากรด้านสถานที่ โดยจะได้อธิบายดังนี้

                     ส่วนแรกจะเป็นงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ในการขับเคลื่อน

               ส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชน และมีงบนอกที่ทางสภาเด็กและเยาวชนขอเอง เนื่องจาก
               องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางได้รับงบประมาณค่อนข้างน้อย แต่ต้องนำไปพัฒนา               ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ในหลายๆกลุ่ม เช่น กลุ่มของสภาเด็ก กลุ่มส่งเสริมสตรี แต่ทางคณะสภาเด็กและเยาวชน
               ต้องทำการส่งเสริมทุกปี เนื่องจากต้องการขับเคลื่อนให้ได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องทำการขอ
               งบนอกเองจากหลาย ๆ แหล่ง เช่น หน่วยงานบ้านพักเด็ก ที่สนับสนุนทุกปี มีการจัดสรรให้น้อง ๆ

               ได้ไปดำเนินการเอง โดยคณะกรรมการสภาเด็กและสภาเยาวชนนั้นก็เปลี่ยนกลุ่มทุก ๆ ปี เพราะ
               การไปฝึกงานต่างพื้นที่ ไม่สามารถมาทำงานได้ หรือ เรียนออนไลน์ จึงขอรับคณะกรรมการ

               เด็กและเยาวชนใหม่ ในอายุระหว่าง 12 – 15 ปี ให้เรียนรู้งาน จึงทำให้สามารถขับเคลื่อน
               ได้ต่อเนื่อง รวมไปถึงการของบจาก สส. ทางอำเภอพุเตย ปี 2559 – 2560 ที่จะส่งเสริมน้อง ๆ
               และทีมงานขับเคลื่อนได้ต่อไปให้กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ได้สานต่อให้กลุ่มรุ่นน้องต่อไป


                     องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจากกระทรวงพัฒนา
               สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
               สุขภาพ รวมไปถึงบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครพนมจำนวนเงิน 15,000 บาท อีกทั้งยังได้

               ของบประมาณจากหลาย ๆ ที่ เช่น เทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
               ที่ได้ร่วมไปขับเคลื่อนแนวสภาเด็กและเยาวชน และได้รับการถ่ายทอดจากหลาย ๆ ที่ เพื่อนำสิ่งที่

               แปลกใหม่มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ของตัวเอง

                     ในทรัพยากรด้านงบประมาณนั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับงบประมาณสนับสนุน         ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               มาจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม หน่วยงาน สสส.
               (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด

               นครพนม จำนวนเงิน 15,000 บาท

                     ในทรัพยากรด้านบุคลากร โดยบุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการนั้น ได้แก่ คณะบริหารสภา
               เด็กและเยาวชนทั้งหมด จำนวน 21 คน และพี่เลี้ยงที่เข้ามาช่วยดูและประสานงาน จำนวน 2 คน

                     ในทรัพยากรด้านระยะเวลา โดยทางผู้ดำเนินโครงการนั้นได้ใช้ระยะเวลาในการจัดทำและ

               ดำเนิน โครงการประมาณ 3-4 ปี





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   1 1
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147