Page 91 - kpiebook65062
P. 91

ของอังกฤษ ที่เน้นความสำคัญของหัตถกรรม การผลิตเชิงพาณิชย์ ในแนวทางของ Arts and Crafts
                   Movement อย่างไรก็ดี นายฮีลีย์เป็นครูใหญ่ได้ไม่นานก็ลาออก กระทรวงธรรมการจึงต้องดำเนินการ
                   จัดหาครูใหญ่มาทดแทน ท้ายที่สุดในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ จึงให้ทุนแก่นายนารถ โพธิประสาท

                   ไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล  (University of Liverpool) ประเทศ
                   อังกฤษ และเมื่อสำเร็จการศึกษา เดินทางกลับมารับราชการ ณ ประเทศสยาม ใน พ.ศ. ๒๔๗๓

                   ท่านได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์โรงเรียนเพาะช่าง ตามสัญญาที่ท่านได้ทำไว้กับกระทรวงธรรมการ

                         โรงเรียนเพาะช่างในขณะนั้น มีการสอนวิชาช่างทุกชนิดเทียบเท่ากับช่างสิบหมู่ที่เรียกกัน
                   ในปัจจุบัน ไม่มีวิชาช่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารโดยตรง  จึงไม่ตรงกับวิชาที่อาจารย์นารถ

                   ได้ศึกษามา ท่านจึงได้ทดลองวางหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรม และตั้งแผนกสถาปัตยกรรมขึ้นใน
                   โรงเรียนเพาะช่าง คัดเลือกนักเรียนที่เรียนวาดเขียนและมีแววว่ามีความถนัดพอสมควรที่สนใจในเรื่อง

                   สถาปัตยกรรมมาทดสอบเพื่อคัดเลือก โดยอาจารย์นารถเป็นผู้อำนวยการสอบสอนเอง ผลการทดลอง
                   เรียนพบว่า  นักเรียนมีความสามารถในด้านศิลปะของวิชาสถาปัตยกรรม แต่ยังมีพื้นความรู้ด้าน
                   วิทยาศาสตร์ไม่พอเพียง จึงต้องแก้ไขโดยรับสมัครผู้ที่จบชั้นมัธยมบริบูรณ์และมีพื้นฐานทางวาดเขียน

                   ด้วย หลังจากนั้นจึงมีมติให้เปิดการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป กระทรวงธรรมการ
                   จึงมีคำสั่งให้โอนแผนกสถาปัตยกรรมโรงเรียนเพาะช่างไปสมทบอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                   ซึ่งขณะนั้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย และได้ทำการคัดเลือกนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา
                   ขั้นมัธยมจากโครงการนี้ ๑๑ คน เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาจนได้รับอนุปริญญา ใน พ.ศ. ๒๔๗๗

                          ขณะเดียวกัน ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการยกฐานะ

                   เป็นกรมหนึ่งในกระทรวงธรรมการ และวันที่ ๒๓ ในเดือนเดียวกัน มีการจัดระเบียบกรม มีผลให้แผนก
                   สถาปัตยกรรมเป็นหนึ่งในสองแผนกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (อีกแผนกหนึ่งคือ แผนกวิศวกรรม)

                   การเรียนการสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปีแรกลุล่วงไปด้วยดี แต่การบริหารงานและการจัดการ
                   การเรียนการสอนนั้น  ยังไม่ตรงกับการเรียนของแผนกสถาปัตยกรรมนัก มีเฉพาะบางวิชาที่
                   สถาปัตยกรรมเรียนตรงกับวิศวกรรม บางวิชาก็ขัดแย้งกัน ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงแยกแผนก

                   สถาปัตยกรรมออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้มีฐานะเป็น “แผนกอิสระ” ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัย
                   ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๗ และแต่งตั้งพระเจริญวิศวกรรม

                   คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์อีก
                   ตำแหน่งหนึ่ง จนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ แผนกสถาปัตยกรรมได้วางหลักสูตรระดับปริญญาตรีขั้นปริญญา
                   สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ตามแบบอย่างที่ปฏิบัติกันในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยจึงได้อนุมัติ

                   ให้ยกฐานะจากแผนกอิสระขึ้นเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแต่งตั้งพระยาประกิตกลศาสตร์





               80    สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96