Page 127 - kpiebook65062
P. 127
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล คือที่ประทับของรัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพ
พรรณี พระบรมราชินี ที่ตำบลหัวหิน ซึ่งเป็นสถานพักตากอากาศของผู้ดีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ แล้ว
โดยเฉพาะตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เมื่อรถไฟสายใต้เปิดเดินรถจากสถานีบางกอกน้อยไปถึงสถานีหัวหิน
อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
๑๒
ผู้อำนวยการศิลปากรสถาน ราชบัณฑิตยสภา ไปสำรวจ “กะการสร้างวังใหม่ที่ตำบลหัวหิน”
ใช้เงินพระคลังข้างที่จัดซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่เหมาะสมเพิ่มเติมตลอดรัชกาลจนเป็นที่ดินประมาณ
๑๐๖ ไร่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า สวนไกลกังวล จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์
ออกแบบพระตำหนัก เช่น พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักปลุกเกษม ตำหนักเอิบเปรม ตำหนัก
เอมปรีดิ์ และพระตำหนักน้อย ตลอดจนอาคารบริวารต่าง ๆ อีกมาก
พระตำหนักเปี่ยมสุขเป็นอาคารสูงสามชั้น มีผังแบบอสมมาตร มีทางเข้าหลักสองทาง คือทางเข้า
จากที่เทียบรถพระที่นั่งด้านทิศเหนือ และทางเข้าจากชายหาดทางทิศตะวันออก บริเวณทางเข้าด้าน
ทิศเหนือทำเป็นหอคอยสูง ภายในมีอัฒจันทร์บันไดทางเสด็จ แต่ละชั้นมีห้องสำคัญๆ เพียงสองหรือ
สามห้อง รายล้อมด้วยระเบียง เปิดรับทัศนียภาพและอากาศบริสุทธิ์ทุกทิศทุกทาง ชั้นที่ ๑ มีสระสรง
ภายในอาคาร ห้องแต่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และห้องแต่งพระองค์สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ ส่วนด้านทิศเหนือมีห้องข้าราชบริพาร และห้องเก็บของ ชั้นที่ ๒ มีห้องเสวยและห้องทรง
บิลเลียด มีเฉลียงรอบด้าน ทางทิศเหนือมีห้องพักราชองครักษ์และห้องเตรียมเครื่อง ส่วนชั้นที่ ๓
เป็นห้องพระบรรทมและห้องสรงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ แยกเป็น
สองชุด (suite) เชื่อมกันทางห้องแต่งพระองค์ (dressing room) ทางทิศเหนือมีห้องเก็บพระภูษาและ
เครื่องสำหรับพระแท่นบรรจถรณ์
พระตำหนักเปี่ยมสุขมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมแบบโรแมนติค
(Romanticism) ผสมกับการตกแต่งภายในแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) ตามสมัยนิยม รูปทรงอาคาร
ภายนอกมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโรมันวิลลา (Roman Villa) คือบ้านพักอาศัยในชนบทสมัยโรมัน
มีลักษณะเด่นที่การจัดวางรูปทรงอย่างอสมมาตร มีหอคอยสูงเป็นประธาน และมีรูปทรงอาคาร
ส่วนอื่น ๆ ลดหลั่นกันลงมา ช่องเปิดประตูหน้าต่างเป็นซุ้มโค้ง (arch) เน้นมุขสำคัญด้วยหน้าบันจั่วแบน
(pediment) มีรูปทรงหลังคาที่สลับซับซ้อน ประกอบกับการทำบันไดภายนอกและเฉลียงที่ปกคลุม
ด้วยร้านต้นไม้ ตลอดจนการจัดวางองค์ประกอบสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ช่องแสง ไฟกิ่งที่ผนัง หรือ
กระถางต้นไม้ อย่างประณีตและซับซ้อน ทำให้อาคารมีรูปทรงที่งดงามราวกับภาพเขียน
11 สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ