Page 125 - kpiebook65062
P. 125

สถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยม



                         รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยม (Historicist style) หรือรูปแบบรีไววัล (revival
                   style) คือการอ้างอิงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากอดีต รื้อฟื้นกลับมาใช้ในบริบทที่ต่างสมัยกัน

                   ทรงอิทธิพลในโลกตะวันตกปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต่อเนื่องถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จึงส่งผล
                   โดยตรงต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างตะวันตกในสยาม ในช่วงรัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาล

                   ที่ ๗ อย่างไรก็ดี เมื่อถึงรัชกาลนี้พบว่าความนิยมในรูปแบบประวัติศาสตร์นิยมได้ลดน้อยถอยลง
                   ตามลำดับ เมื่อมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยกว่า เช่น สถาปัตยกรรมอาร์ต เดโค (Art Deco)
                   สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

                   ไปมากกว่า ทั้งนี้อาคารสมัยรัชกาลที่ ๗ ที่ยังคงมีรูปแบบประวัติศาสตร์นิยม โดยมากเป็นสถาปัตยกรรม
                   เพื่อการพักอาศัยของเจ้านายและขุนนางชั้นสูง หรืออาคารพาณิชย์ ที่ยังคงนิยมในความประณีตงดงาม

                   และสัดส่วนที่เหมาะแก่การพักอาศัยอยู่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                   บริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต


                         สำนักงานบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต (Siam Architects Import)  ตั้งอยู่ที่ถนนอัษฎางค์
                   เชิงสะพานมอญ ออกแบบขึ้นในราวเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ลักษณะเป็นอาคารสูงสองชั้น

                   ยาวห้าห้อง วางขนานไปตามถนนอัษฎางค์ ชั้นล่างเป็นห้องแสดงสินค้า อันได้แก่สุราต่างประเทศ และ
                   รถยนต์ ทำช่องหน้าต่างกระจกกว้างเกือบเต็มคูหา มีทางเข้าที่ห้องกลาง ชั้นบนเป็นสำนักงานสถาปนิก

                   เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านหน้ายื่นเลยมาเหนือทางเท้าและทางเข้าอาคารชั้นล่าง  ตอนล่างติดตั้ง
                   ป้ายชื่อกิจการ “Siam Architects Import.  Builders Merchants Engineers Contractors”


                         อาคารสำนักงานบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ตมุงหลังคาปั้นหยาผสมจั่วขนาดใหญ่
                   มีโครงสร้างเป็นโครงถักไม้ มุงกระเบื้องซิเมนต์ ที่ห้องปลายตึกทั้งสองข้างทำมุขเป็นจั่วขวาง ด้านหลัง
                   ทำมุขคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า มุขหลังด้านหนึ่งเป็นห้องน้ำและบันได อีกด้านหนึ่งที่ชั้นสอง

                   มีทางเชื่อมไปยังอาคารข้างเคียง ชั้นล่างด้านหลังทำช่องประตูขนาดใหญ่ เพื่อให้ขนสินค้าเข้าออก
                   ได้สะดวก มีบานประตูไม้เลื่อนปิด  สำนักงานบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ตมีโครงสร้างหลักเป็น

                   คอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่ที่ชั้นบนตกแต่งพื้นผิวภายนอกด้วยไม้ ให้ดูเป็นโครงสร้าง
                   ครึ่งไม้ครึ่งปูน (half-timber) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมทิวดอร์ (Tudor architecture) ที่มีลักษณะ
                   เด่นในผืนหลังคาขนาดใหญ่ ชายคายื่นยาว เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้น ทั้งยังอำนวยให้มี

                   การตกแต่งประดับประดาด้วยลวดลายไม้ฉลุอย่างประณีตในบางส่วน





             11      สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130