Page 121 - kpiebook65062
P. 121

ตึกวชิรมงกุฎ วชิราวุธวิทยาลัย



                         ตึกวชิรมงกุฎ เป็นอาคารเรียนของวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมคือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
                   ที่สถาปนาขึ้นตามพระราชดำริในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ที่สวนกระจัง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
                   ของพระราชวังดุสิต โรงเรียนนั้นหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีตึกคณะอยู่สี่มุม แต่ละคณะมีหอพัก

                   นักเรียน ห้องเรียน และที่อยู่ครู ตรงกลางเป็นตึกที่ประชุมนักเรียน เรียกว่า หอสวด อาคารทั้งหมด
                   สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๖ ออกแบบโดยนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) มีรูปแบบสถาปัตยกรรม

                   ไทยประยุกต์  ถึงรัชกาลที่ ๗ ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ มีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
                   กรุงเทพฯ และ โรงเรียนราชวิทยาลัยเข้าด้วยกัน โดยให้ย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกัน
                   ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ และพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย เพื่อเป็น

                   พระบรมราชานุสรณ์ของพระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้มีการสร้าง
                   ตึกเรียนหลังใหม่ ทางด้านหลัง คือด้านทิศตะวันตกของหอสวด เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีต

                   เสริมเหล็ก สูงสองชั้น ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) และหลวงวิศาล
                   ศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) ก่อสร้างแล้วเสร็จ ใน พ.ศ. ๒๔๗๕


                         ตึกวชิรมงกุฎมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ตรงกลางเป็นโถงบันได สองข้างมีห้องเรียนข้างละ
                   สามห้อง สองห้องแรกวางตัวขนานไปตามความยาวอาคาร ส่วนห้องปลายทั้งสองด้านวางขวาง เกิดเป็น
                   มุขที่ปลายอาคารทางทิศเหนือและทิศใต้ มีมุขเล็กซ้อนอยู่ในมุขใหญ่ หลังคาตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง

                   อย่างจารีต สันนิษฐานว่าให้รับกับรูปแบบสถาปัตยกรรมของหอสวด ซึ่งสร้างขึ้น ๑๖ ปีก่อนหน้านั้น
                   ด้านตะวันออกของอาคารเป็นเฉลียงทางเดิน รูปด้านตกแต่งด้วยเสาเก็จ (pilaster) สูงสองชั้น

                   ทำให้อาคารดูสง่างาม ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นผนังห้องเรียน จึงเป็นผนังเรียบ มีหน้าต่างจำนวนมาก
                   ที่เรียงอย่างเป็นระเบียบ

























              110    สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126