Page 153 - kpiebook65057
P. 153

การมองอนาคตอย่างมีกลยุทธ์  (Strategic Foresight) แตกต่างจาก
                                                 2
             การวางแผนแบบเดิม ๆ ซึ่งมักจะสร้างตัวแบบต่าง ๆ ออกมา แต่การวางแผน
             การมองอนาคตอย่างมีกลยุทธ์นี้ใช้ในสถานการณ์ที่ความยืดหยุ่น ไม่แน่นอน ซับซ้อน

             อธิบายได้ยากเพราะโลกในปัจจุบันมักจะคาดการณ์ได้ยากขึ้น และเราไม่สามารถ
             ที่จะรู้อนาคตได้อย่างชัดเจนได้ การวางแผนแบบเดิม ๆไม่สามารถที่จะให้ผล

             ที่เชื่อถือได้ สิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องคือ


                     ความผันผวน (volatility) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นๆลงๆ ซึ่งจะมี
             สามมิติ คือ ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่มีความแปรปรวน และคาดการณ์

             ความเร็วไม่ได้ บางครั้งก็เร็วบางครั้งก็ช้า นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกระจายไป
             ในหลายมิติในลักษณะที่คาดการณ์ไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่พบเห็น
             ในรูปแบบเดียว เช่นราคาของสินค้าหรือการเปลี่ยนแปลงที่กระจายออก นอกจากนี้

             ระดับของการผันผวนก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีผลกระทบต่อ
             สิ่งต่าง ๆ


                     ความไม่แน่นอน  (uncertainty)  มีสิ่งที่ไม่รู้อีกจำนวนมากและมี

             ผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ผลจะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการยาก
             ที่จะเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ผ่านมากับการพยากรณ์ในอนาคตเพราะมีความ

             ไม่แน่นอนอยู่


                     ความซัับซั้อน (complexity) หมายถึง สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
             และมีผลกระทบกันและกัน สาเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ชัดเจน และ

             ไม่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีปฏิิสัมพันธ์กันอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่าง
             ตัวแปรแต่ละตัว ผลต่อการเปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนมากทำให้เข้าใจได้ยาก
             ที่จะทราบผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน





             2  Van Duijne Freitas and Bishop Peter. Introduction to strategic foresight. January. 2018.
             future motions. Dutch Future Society




                                               98
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158