Page 85 - kpiebook65030
P. 85

84  ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
          รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ

                   ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ภายหลังสงครามที่วอเตอร์ลู มีการจัด
           การประชุมที่เวียนนา เพื่อจัดระเบียบยุโรปใหม่ โดยยึดหลักความชอบธรรม

           ตามกฎหมาย, หลักการสกัดกั้น, หลักการชดเชยความเสียหาย นอกจากนี้
           ยังมีการยกเนเธอร์แลนด์เป็นราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยมี House of

           Orange-Nassau ปกครองประเทศในฐานะกษัตริย์ รวมไปถึงการรวมเนเธอร์แลนด์
           และเบลเยี่ยมเป็นประเทศเดียวกัน อย่างไรก็ตาม วิลเลียม เฟรเดอริก มีเงื่อนไข
           ในการเข้ารับเป็นกษัตริย์นั่นคืิอ จะต้องมีรัฐธรรมนูญ ทำาให้เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญ

           ปี 1815 ซึ่งเป็นฉบับแรกของเนเธอร์แลนด์นั่นเอง



           พัฒนำกำรของรัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์

                   รัฐธรรมนูญปี 1815 : รัฐธรรมนูญฉบับนี้จัดทำาโดยคณะกรรมการ

           ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วยฝ่ายเหนือ (เนเธอร์แลนด์) และฝ่ายใต้ (เบลเยียม)
           เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยสาระสำาคัญคือใช้ระบบสองสภา โดยมีสภาสูง
           เรียกว่า สภาที่หนึ่ง ได้รับการแตกตั้งจากกษัตริย์ ส่วนสภาล่างเรียกว่า สภาที่สอง

           มาจากการเลือกตั้งของรัฐบาลจังหวัด นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีการบัญญัติ
           ให้พระราชบัญญัติงบประมาณจะถูกนำาเสนอเพียง 1 ครั้ง ในทุก ๆ 10 ปี

           กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้อำานาจแก่กษัตริย์และคณะรัฐมนตรีค่อนข้างมาก

                   รัฐธรรมนูญปี 1840 : สภาพเศรษฐกิจ ความแตกต่างกันทางภาษา
           ทำาให้เบลเยียมแยกตัวออกไปจากเนเธอร์แลนด์ในปี 1830 ส่งผลให้เนเธอร์แลนด์

           ต้องปฏิรูปรัฐธรรมนูญในปี 1840 โดยสาระสำาคัญที่เปลี่ยนไป ได้แก่ การนำาเสนอ
           พระราชบัญญัติงบประมาณ จากทุก ๆ 10 ปี เป็นทุก ๆ 2 ปี, พระราชกฤษฎีกา

           ที่ออกโดยกษัตริย์ต้องมีการสนองพระบรมราชโองการ รวมไปถึงรัฐมนตรีสามารถ
           ถูกดำาเนินคดีได้หากทำาผิดรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปรัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำาให้อำานาจ
           ของกษัตริย์เริ่มที่จะเคลื่อนเข้ามาสู่รัฐสภามากขึ้น
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90