Page 291 - kpiebook65024
P. 291
290 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
รับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่นของตน ตลอดจนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างถูกต้อง อันจะน�าไปสู่แนวทาง
ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตรงตาม
ความต้องการของท้องถิ่นตนเองอย่างแท้จริง ทั้งแนวความคิดการกระจายอ�านาจ
การปกครองยังเป็นจุดเริ่มต้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน
โดยถือได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเริ่มตั้งแต่ในระดับพื้นฐานจนน�าไปสู่
การปกครองในระดับประเทศต่อไป
ในประเทศไทยมีการแบ่งระดับการปกครอง ออกเป็น 3 ระดับ คือ (มานิตย์
จุมปา, 2541)
1. ระดับประเทศ เรียกว่า “ราชการบริหารส่วนกลาง” ได้แก่ กระทรวง
ทบวง กรม
2. ระดับภูมิภาค เรียกว่า “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” ได้แก่ จังหวัด
อ�าเภอ ต�าบล หมู่บ้าน
3. ระดับท้องถิ่น เรียกว่า “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” ได้แก่ องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนต�าบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร
และเมืองพัทยา
การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองตามหลักการกระจายอ�านาจ
การปกครอง (Decentralization) หมายความว่า รัฐมอบอ�านาจหน้าที่บางอย่าง
ในการจัดท�าบริการสาธารณะ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ด�าเนินงาน
อยู่ในท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นหรือองค์การส่วนท้องถิ่นรับไปด�าเนินการด้วยงบประมาณ
และเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นนั้นเอง โดยราชการบริหารส่วนกลางเป็นเพียงแต่คอยก�ากับดูแล
เท่านั้น ไม่เข้าไปใช้อ�านาจบังคับบัญชาสั่งการแต่ประการใด (ประยูร กาณจนดุล, 2538)