Page 202 - kpiebook65024
P. 202
201
ในอดีต ประเทศไทยใช้ระบบศาลเดี่ยว แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบศาลของประเทศไทย คือ
มีการเปลี่ยนจากการใช้ระบบศาลเดี่ยว ซึ่งมีเพียงศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียวมีอ�านาจ
หน้าที่ตัดสินคดีทุกประเภท มาเป็นการใช้ระบบศาลคู่ ซึ่งมีศาลรัฐธรรมนูญ และ
ศาลปกครองที่มีอ�านาจหน้าที่ตัดสินคดีตามที่รัฐธรรมนูญก�าหนด โดยใช้ระบบไต่สวน
ซึ่งให้อ�านาจและบทบาทส�าคัญกับศาลในการพิจารณาคดี โดยศาลมีอ�านาจใช้ดุลพินิจ
ได้อย่างกว้างขวาง ศาลสามารถสั่งให้มีการสืบพยานเพิ่มเติมหรืองดการสืบพยานก็ได้
และศาลสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองหรือไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยาน
หลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริง
มากที่สุด เปิดโอกาสให้มีการเสนอพยานหลักฐานสู่ศาลได้ทุกชนิด ศาลจึงมีสิทธิรับ
ฟังพยานบอกเล่า และไม่ใช้หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จ�าเลย (เพลินตา
ตันรังสรรค์, 2555) ส่วนศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอ�านาจของศาลอื่น โดยใช้ระบบ
กล่าวหา และศาลทหารก็ใช้ระบบกล่าวหาเช่นเดียวกัน (พรรณรัตน์ โสธรประภากร,
พัชรณัฏฐ์ สังข์ประไพ และกิจบดี ก้องเบญจภุช, 2564)
ระบบศาลคู่ในประเทศไทยนั้น เห็นได้ว่าประเทศไทยไม่ได้มีแค่ 2 ศาล
แต่คือศาลทุกศาลมีอ�านาจในการตัดสินคดีตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นก�าหนด
ในลักษณะคู่ขนานกันไป อันประกอบด้วย ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง
และศาลทหาร โดยขอบเขตอ�านาจของแต่ละศาลได้มีการก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
โดยมีรายละเอียดก�าหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งศาลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง