Page 201 - kpiebook65024
P. 201

200   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




        ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษรจะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายเป็น
        ส�าคัญที่สุด โดยไม่ได้ยึดถือค�าพิพากษาในคดีก่อนมาวางบรรทัดฐานเช่นเดียวกับ

        ในระบบกฎหมายจารีตประเพณี พัฒนาการของศาลปกครองมาจากแนวความคิด
        ที่ว่าการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและการด�าเนินการบริการสาธารณะนั้น ต้องเป็นไปตามที่

        กฎหมายบัญญัติและการด�าเนินการต้องท�าเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ดังนั้น
        การกระท�าทางปกครองหรือการบริการสาธารณะดังกล่าว หากก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น

        โดยมิได้จงใจที่จะให้เกิดกับประชาชน วิธีการพิจาณาด�าเนินคดีความรับผิดดังกล่าว
        จะใช้หลักการพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมจะเป็นการไม่เหมาะสม เพราะ

        คู่ความในคดีมีสถานะทางกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
        ที่มีอ�านาจปกครองตามกฎหมายและมีสถานะเหนือกว่า อีกฝ่ายหนึ่งเป็นประชาชน

        ดังนั้นเมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสถานะทางกฎหมายไม่เท่าเทียมกันแล้ว การที่จะให้
        ศาลยุติธรรมพิจารณาคดีโดยใช้ระบบกล่าวหา และใช้หลักกฎหมายเดียวกันเสมือนว่า

        สถานะทางกฎหมายของคู่กรณีมีความเท่ากัน จะก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย
        โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อฝ่ายประชาชนที่มีอ�านาจต่อรองน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้จึงได้มี

        การจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในยุโรป เช่น ประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นในระบบศาลคู่มีการแบ่ง
        ให้คดีแพ่ง คดีอาญาอยู่ในเขตอ�านาจของศาลยุติธรรม ส่วนคดีปกครองอยู่ในเขตอ�านาจ

        ของศาลปกครอง ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย
        ลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

        (พรรณรัตน์ โสธรประภากร, พัชรณัฏฐ์ สังข์ประไพ และกิจบดี ก้องเบญจภุช, 2564)
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206