Page 6 - kpiebook65022
P. 6
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง: 1) ควรส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม (ทสม.) ให้เป็นกลไกส าหรับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อมในระดับ
พื้นที่ เพื่อปิดช่องว่างของปัญหาการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยอาจเน้นบทบาทที่เชื่อมโยงระดับพื้นที่กับ
การตัดสินใจทางนโยบายหรือการติดตาม เพื่อเฝ้าระวังและจัดท าข้อมูลตามแนวคิดวิทยาศาสตร์พลเมือง
2) ควรมีการทบทวนระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เช่น ควรมีการพิจารณา
รายงานอีไอเอ โดยองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ควรมีการพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมแบบอื่นควบคู่กันไปด้วย
เช่น การจัดท าประชามติแบบที่ไม่มีผลผูกพัน และควรมีกองทุนเพื่อการท ารายงาน EIA ฉบับประชาชน เป็นต้น
3) ควรมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ฟรีหรือราคาถูก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารจากหน่วยงานของรัฐได้สะดวกมากขึ้น
ฝ่ายนิติบัญญัติ: ควรมีการทบทวน วิเคราะห์ และส ารวจเชิงรุกเพื่อค้นหาความต้องการกฎหมายด้าน
สิ่งแวดล้อมที่จ าเป็น เช่น ทบทวน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะที่เป็นอุปสรรคต่อสิทธิทางสิ่งแวดล้อมของประชาชน
การออกกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการด าเนินโครงการสิ่งแวดล้อม หรือ
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ควรจัดท าฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง อปท.ใกล้เคียงเพื่อจัดการปัญหา
สิ่งแวดล้อม เช่น การบูรณาการองค์ความรู้และระบบบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร เป็นต้น
พรรคการเมือง: ควรเสนอแนวนโยบายที่มีมุมมองของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นมิติสิ่งแวดล้อม
และส่งเสริมพื้นที่การเมืองสีเขียวกับภาคประชาชนให้มากขึ้น
ภาคประชาสังคมและประชาชน: 1) ควรมีการปรับรูปแบบการเคลื่อนไหวให้เป็นแบบเครือข่าย
ด าเนินการต่อเนื่อง และสร้างสรรค์ เน้นหาทางออกร่วมกันมากกว่าคัดค้าน 2) ควรสร้างตัวแทนหรือนักปฏิบัติ
ที่ชัดเจนเพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่การตัดสินใจทางนโยบายสิ่งแวดล้อม
iv