Page 5 - kpiebook65022
P. 5
บทสรุปผู้บริหาร
งานวิจัยนี้ มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้การเมืองสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหว
จริง ในประเทศไทยนั้นมีประเด็นการวิจัยซึ่งเป็นองค์ความรู้สนับสนุนหรือไม่อย่างไร วิธีการศึกษา ได้แก่
1) การส ารวจเอกสารวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูลไทยและต่างประเทศ
รวม 195 ชิ้น เพื่อเป็นข้อมูลองค์ความรู้การเมืองสิ่งแวดล้อมไทยและต่างประเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน
2) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 ท่าน ในประเด็นวิวัฒนาการการเมืองสิ่งแวดล้อม กรณีความส าเร็จ
อุปสรรค ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นวิกฤตต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน และข้อเสนอแนะอื่น
3) สนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นภาครัฐ ประชาสังคม และวิชาการในระดับพื้นที่ภาคเหนือ
กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ จ านวนรวม 49 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า กรณีที่เป็นประเด็นมาอย่างยาวนานและต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก
ได้แก่ มลพิษ ทรัพยากร และยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
ประเด็นมลพิษ ได้แก่ เรื่องฝุ่นควันหรือ PM 2.5 และขยะ จากฐานข้อมูลที่สืบค้น ยังขาดการศึกษา
เกี่ยวกับการจัดการมลพิษจากฝุ่น PM2.5 ขณะที่ปัญหานี้มีความรุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นอย่างซ้ าซาก
ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การคุ้มครองพื้นที่ป่ากับการจัดการป่าไม้แบบมีส่วนร่วม การ
จัดสรรทรัพยากรน้ าระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งยังขาดการศึกษามิติของการจัดการทรัพยากรร่วมกันอันเป็น
หนทางที่สอดคล้องกับการไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฎหมายและกลไกที่มีลักษณะจ ากัดสิทธิและการมีส่วนร่วม
แม้รัฐธรรมนูญจะได้รับรองสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ก็ตาม จึงควรมีการศึกษาเพื่อทบทวน
กฎหมายและกลไกที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในเชิงการยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในไทยยังขาดการศึกษา
แนวทางหรือกลไก เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าไปสู่กระบวนการตัดสินใจ รวมทั้งความสัมพันธ์ของรัฐ ประชาชนและ
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ความท้าทายส าคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ สถาบันและตัวแสดงที่
ขับเคลื่อนและความร่วมมือ จึงควรมีระบบหรือกลไกที่มั่นใจได้ว่าภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในสังคมได้เข้าร่วมในการ
ตัดสินใจเรื่องการพัฒนาประเทศ
ส าหรับข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและการปฏิบัติด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภาครัฐควรจัดท านโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมกับประชาชน
หลากหลายภาคส่วนในแต่ละพื้นที่ โดยต้องมีเป้าหมายชัดเจนและสะท้อนความสมดุลเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ตลอดจนค านึงถึงศักยภาพในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ หากความสามารถรองรับการพัฒนาของ
แต่ละพื้นที่เต็มศักยภาพแล้ว ควรหยุดยั้งการพัฒนาที่อาจท าให้กระทบต่อความยั่งยืน
ส าหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับบทบาทของภาคส่วนในสังคม ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่
เกี่ยวข้อง ภาครัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมือง และภาคประชาสังคมและ
ประชาชน
iii