Page 7 - kpiebook65019
P. 7

6   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม


        รวมตลอดถึงพรรคการเมืองก็ได้แสดงเจตจ�านงในการสนับสนุนสิทธิชุมชน และรัฐบาล
        ทุกยุคทุกสมัยก็น�าประเด็นสิทธิชุมชนไปแถลงเป็นนโยบายต่อรัฐสภา


               แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติิ การใช้สิทธิชุมชนในมิติต่าง ๆ ยังมีปัญหา
        ในระดับรัฐธรรมนูญหลายประการ  แนวทางการแก้ไขด้วย “กระบวนการรัฐธรรมนูญนิยม

        (Constitutionalism)” ตัวอย่างของรัฐธรรมนูญประเทศแคนาดา และประเทศสหพันธ์

        สาธารณรัฐบราซิลที่รับรองสิทธิชุมชนไว้ในรัฐธรรมนูญ น่าจะเป็นหลักการและแนวทาง
        ที่ดีที่จะช่วยท�าให้ก้าวข้ามวงจรปัญหาที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของสังคมไทยได้ ด้วยการ


               1.  ท�าให้เกิดกระบวนการและกลไกในรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองและคุ้มครอง
                   สิทธิเสรีภาพของประชาชนมีผลในทันที ปราศจากข้ออ้างถึงความไม่พร้อม
                   ของหน่วยงานของรัฐ หรือการสร้างจ�ากัดต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคทางกฎหมาย

                   อาทิเช่น “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” หรือ “ตามวิธีการที่กฎหมาย

                   ก�าหนด” และ

               2.  ควรก�าหนดให้มีกลไกในการท�าหน้าที่ในการด�าเนินการติดตาม ตรวจสอบ

                   และเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติเพื่อด�าเนินแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่
                   ขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานของสิทธิชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง

                   ภายในระยะเวลาที่ก�าหนด โดยให้เป็นหน้าที่และอ�านาจขององค์กรอิสระ
                   เพิ่มเติมจากกระบวนการควบคุมไม่ให้พระราชบัญญัติที่จะประกาศใช้

                   ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ

               3.  ในการจัดโครงสร้างการรับรองสิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ควรใช้

                   แนวทางการจัดโครงสร้างและขอบเขตเนื้อหาของบทบัญญัติต่าง ๆ
                   ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนตามแนวทางและแบบอย่างของรัฐธรรมนูญ

                   พ.ศ. 2550 (ดังปรากฏในเอกสารรายงาน)
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12