Page 57 - kpiebook65015
P. 57
56 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ระบบเลือกตั้งนี้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เรียกว่า ระบบเลือกตั้ง
“จัดสรรปันส่วนผสม” โดยเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Mixed Members Apportionment
47
(MMA) ซึ่งแตกต่างไปจากระบบเลือกตั้งแบบเดิมของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่เป็น “ระบบคู่ขนาน” (Parallel System)
คือ มีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่แยกกันเด็ดขาด
กล่าวคือ คู่ขนานกันแต่ไม่เกี่ยวข้องกันแบบเส้นขนาน และก็ต่างจาก “ระบบสัดส่วนผสม”
(Mixed Members Proportional Representation - MMP) ของประเทศสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งมีสองคะแนนเหมือนแบบระบบคู่ขนาน แต่จะใช้คะแนนเลือก
บัญชีรายชื่อหรือคะแนนที่เลือกพรรค ก�าหนดจ�านวนที่นั่ง ส.ส. ของแต่ละพรรค หรือ
“จ�านวน ส.ส.พึงมีได้” ของแต่ละพรรค จากนั้นจะดูว่าแต่ละพรรคได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต
ไปแล้วกี่คน ขาดอยู่เท่าใดก็จะเอาผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของพรรคมาเติมจนครบ
จ�านวน
กล่าวโดยสรุปคือ ระบบสัดส่วนผสมนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี 2 คะแนน
คะแนนหนึ่งเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขต อีกคะแนนเลือกผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของ
พรรคหรือเลือกพรรค และใช้คะแนนการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อก�าหนดจ�านวน
“ส.ส.พึงมีได้” ขณะที่ระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมของรัฐธรรมนูญ 2560
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเลือกผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้อย่างเดียว ซึ่งนอกจาก
จะเป็นทั้งการเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และ ส.ส. บัญชีรายชื่อแล้ว ยังเป็น
47 การสืบค้นของผู้วิจัยไม่ปรากฏระบบเลือกตั้งชื่อ Mixed-Member Apportionment
ในสารบบของหนังสือและเว็ปไซต์เรื่องระบบเลือกตั้งของต่างประเทศ และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า
มีเพียงรัฐ Bade-Wuerttemberg ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเท่านั้นที่ใช้ระบบเลือกตั้งนี้
โปรดดูเชิงอรรถที่ 23