Page 8 - kpiebook65012
P. 8

8



        ฐานข้อมูลที่มีอยู่ และกรอบทฤษฎีการเมืองในระดับนคร ในการศึกษา
        การเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับ (มหา) นคร เพื่อส่งเสริมแนวทางการวิจัย

        ใหม่ ๆ ในการศึกษาการเมืองการปกครองและการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น
        ที่มีมิติของการพัฒนาเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าการศึกษาการเลือกตั้ง
        ท้องถิ่นแค่เรื่องของตัวแบบการลงคะแนนเสียงในเชิงปริมาณที่ผ่านมา

        (อาทิ การส�ารวจคะแนนเสียง และการพรรณนาประวัติของผู้สมัครใน
        แต่ละเขต) นอกจากนี้ การท�าความเข้าใจกับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น

        ในระดับกรุงเทพมหานครยังมีความส�าคัญมากกว่าเรื่องของจ�านวนของ
        ผู้ใช้สิทธิในกรุงเทพมหานครที่มากกว่าที่อื่น (ตัวอย่างเช่น ผู้มาใช้สิทธิ
        ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 มีจ�านวน

        2,715,640 คน ส่วนประชากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 มีจ�านวน
        5,686,252 คน) และลักษณะของเมืองที่ใหญ่เป็นแบบเมืองโตเดี่ยว

        (primate city) และปัญหาที่เกิดในเมืองขนาดใหญ่ เพราะในครั้งนี้ไม่มี
        การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต 50 แห่ง และยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของ
        ระบบตัวแทนท้องถิ่นใหม่ที่จะมาแทนที่


                 วิธีการศึกษาในรายงานวิจัยนี้อาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ
        เป็นเครื่องมือส�าคัญในการศึกษา ได้แก่ 1) ส�ารวจเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

        ได้แก่ กรอบของกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ
        กรุงเทพมหานคร กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

        หรือผู้บริหารท้องถิ่น กรอบและแผนการพัฒนากรุงเทพมหานคร
        2) ส�ารวจข้อมูลเชิงพื้นที่ อาทิ ข้อมูลประชากร ข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่น
        ของกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา ข้อมูลปัญหาการพัฒนาเมือง และ 3) ส�ารวจ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13