Page 88 - kpiebook64015
P. 88

และในแง่ของกฎหมาย ก็มีประเด็นที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน อันได้แก่ หลัก mutatis mutandis

              และหลัก nullum crimen, nulla poena sine praevia lege poenali   โดยหลัก  mutatis mutandis  กล่าว
              ว่า เพียงแต่เปลี่ยนคำบางคำ แต่ผลลัพธ์ก็ยังคงเดิม   หมายความว่า หากพรรคการเมืองสามารถกู้เงินได้ไม่ต่างจาก

              เอกชน “ไม่ว่าจะกู้มาจากแหล่งใด ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร สถาบันการเงินหรือเอกชน ก็ย่อมทำได้ และแน่นอนว่าการกู้

              ในเชิงพาณิชย์ที่มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราปกติหรือในอัตราพิเศษที่ต่ำกว่าปกติ หรือไม่มีดอกเบี้ยเลยก็เป็นเรื่องที่
              สามารถกระทำได้ตามแต่คู่สัญญาเจ้าหนี้ลูกหนี้จะตกลงกัน เพียงแต่ไม่สามารถใช้เงินที่กู้มากระทำการทุจริตเลือกตั้ง

              ตามที่กฎหมายได้บัญญัติห้ามไว้ รวมทั้งจะต้องไม่ใช้เงินเกินขอบเขตในการรณรงค์หาเสียง และแน่นอนว่า พรรค

              การเมืองที่กู้เงินมาใช้ในกิจการทางการเมืองไม่จำเป็นต้องเปิดเผยการกู้ยืมเงินของพรรค  ขณะเดียวกัน เมื่อพรรค
              ได้รับเลือกตั้งและเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา และหากพรรคมีกระทำที่ส่อให้เห็นว่าใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางมิชอบ

              และขัดต่อผลประโยชน์สาธารณะแต่เอื้อประโยชน์เพื่อเป็นการตอบแทนแก่เจ้าหนี้  ก็ย่อมมีบทบัญญัติตามกฎหมาย
              ที่จะกล่าวหาและสอบสวนตัดสินลงโทษพรรคได้  และแม้ว่าจะไม่สามารถเอาผิดพรรคได้ เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ

              หรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม   และหลัก  nullum crimen, nulla poena sine praevia lege poenali   คือ “ไม่มี

              ความผิดและไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ก่อน”   ทั้งสองหลักดังกล่าวนี้คือหลักที่อาจจะทำให้เกิดการตีความ
              ไปในทางที่การกู้ยืมเงินหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่กระทำได้และไม่ผิดกฎหมาย   แต่กระนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทั้ง

              สองเป็นหลักการที่มีความสำคัญในทางนิติปรัชญา  จึงควรมีการพิจารณาถกเถียงต่อหลักการทั้งสองนี้เพื่อนำมาซึ่ง
              ข้อตกลงร่วมกันภายในสังคมการเมืองหนึ่งๆ

                     แต่กระนั้น คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ทุกประเทศต่างก็อยู่บนเป้าหมายของหลักการที่ต้องการขจัดปัญหาการ

              ทุจริตคอร์รัปชั่นและการรวมศูนย์อำนาจในพรรค  (corruption and centralization in party politics) เพื่อ
              สร้างเวทีทางการเมืองที่เสรีและเป็นธรรมให้แก่ผู้สมัครและพรรคการเมืองของทุกฝ่ายสุดท้าย ผู้วิจัยขอจบลงด้วย คำ

              กล่าวของ Charles Seymour ที่มีต่อการออกกฎหมายเพื่อการปฏิรูปการเลือกตั้งในอังกฤษและเวลส์ว่า   “ไม่มีการ

              ออกกฎหมายฉบับไหนฉบับเดียวที่จะเป็นคำอธิบายในฐานะที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนผ่านครั้ง
              ใหญ่”
                    130
















              130  Charles Seymour, Electoral Reform in England and Wales:   The Development and Operation of the
              Parliamentary Franchise, 1832-1885,  (New Haven: Yale University Press: 1915),  pp. 2-3.






                                                            88
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93