Page 30 - kpiebook64013
P. 30

4) ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทาง

          อ�านาจของวุฒิสภาไทยเพื่อการเป็นสถาบันที่มี

          บทบาทเสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของ
          ระบบการเมืองและประชาธิปไตยของไทย


                   สมาชิกวุฒิสภายังคงมีความจำาเป็นต่อระบบการเมืองของไทย

          ในฐานะองค์กรที่สร้างสมดุลแห่งอำานาจ ทั้งในมิติของฝ่ายนิติบัญญัติและ
          หน้าที่และอำานาจในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ
          อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาการยอมรับในที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตาม

          บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว
          การบัญญัติถึงหน้าที่และอำานาจของสมาชิกวุฒิสภายังมีปัญหาในเรื่อง

          การยอมรับของสังคม โดยเฉพาะต่อทัศนะที่มองว่า วุฒิสภาเป็นเครื่องมือ
          แห่งการสืบทอดอำานาจของ คสช. อันส่งผลต่อการพัฒนาระบอบ
          ประชาธิปไตยของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทตามบทเฉพาะกาล

          ของรัฐธรรมนูญที่ให้หน้าที่และอำานาจเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและ
          การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้เกิดพัฒนาการที่เป็น

          ที่ยอมรับของสังคม จึงมีความจำาเป็นในการกำาหนดหน้าที่และอำานาจ
          รวมถึงบทบาทที่เหมาะสมของสมาชิกวุฒิสภาต่อไป โดยหน้าที่และ
          อำานาจรวมถึงบทบาทที่เหมาะสมของสมาชิกวุฒิสภาควรถูกแก้ไขและ

          กำาหนดกรอบไว้ ดังนี้

                   1. บทบาทและอำานาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ

                   1.1  การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ

                       ประกอบรัฐธรรมนูญ

                   1.2  การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
                       ประจำาปี



        30   บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35