Page 79 - kpiebook64008
P. 79
3.2 การต่อสู้ทางการเมืองของพรรคการเมือง ตระกูลการเมือง และกลุ่มการเมือง
ในการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ครั้งนี้ จะเห็นว่าฉากทัศน์ของพื้นที่การเมืองท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่
เปลี่ยนไป หากมองภาพรวมของผู้สมัครนายก อบจ. ถือเป็นปรากฎการณ์ที่ส าคัญๆ 2 ประการ คือ ประการแรก
การประกาศชัดเจนของพรรคการเมือง คือ พรรคเพื่อไทยในการสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. และการมีผู้สมัคร
จ านวนถึง 6 คน แม้ผู้สมัครบางคน ถูกมองว่าเป็นเพียงองค์ประกอบการแข่งขัน หรือแม้แต่กระแสข่าวของ
การลงเลือกตั้งเพื่อเป็นแผนส ารองหรือกลยุทธ์ทางการเมือง หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองของผู้สมัครที่เป็นตัวเต็ง
ชนะการเลือกตั้งจากการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่มีระยะห่างกันปีเศษ มีผลท าให้ฐานการเมืองของ
พรรคการเมืองยังคงมีความตื่นตัวอยู่ แต่ผู้วิจัยมองว่าในทางพื้นที่ความได้เปรียบของการชนะเลือกตั้งเป็นพรรคร่วม
รัฐบาล อาจจะไม่สามารถน ามาใช้วัดโอกาสในการชนะการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นได้ เนื่องจากการเมืองท้องถิ่นมี
พลวัตสูง คือ การเปลี่ยนแปลงทั้งตัวผู้สมัครและความท้าทายของผู้สมัครใหม่ ๆ บริบทเมืองและสิ่งแวดล้อมที่มีผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนและความเป็นเมืองเกิดขึ้นเร็วกว่ารอบของช่วงเวลา
การเลือกตั้ง
อลงกรณ์ อรรคแสง ให้มุมมองกับสื่อว่า "การสวมเสื้อคลุมของการเมืองระดับชาติลงสู่สนามท้องถิ่น
ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพรรคกับพื้นที่ที่ชัดเจนขึ้น จากในอดีต พรรคการเมืองกับผู้สมัคร อบจ. มักมีความ
เชื่อมโยงกันแบบไม่เปิดเผย แต่นี่ลุกขึ้นมาเปิดตัวเลย และส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายพรรคส่วนกลาง
กับพื้นที่" (บีบีซีไทย, 2563) ดังนั้น สิ่งที่ปรากฏในการเลือกตั้งท้องถิ่น คือ การเห็นกลุ่มชนชั้นน าในท้องถิ่น ตระกูล
การเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติท าให้พื้นที่ของโอกาสของคนที่สนใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่อยู่
ในเครือข่ายการเมืองเป็นไปได้ยาก ในงานวิจัยของ จันทรานุช มหากาญจนะ (2561) ซึ่งศึกษาข้อมูล สถิติจ านวนผู้
ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อด ารงต าแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น 3 ปีย้อนหลัง จ าแนกตามประเภทของหน่วยการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2557 ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม
ทั่วทั้งจังหวัดพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มากกว่าที่จะไม่มีการแข่งขัน กล่าวคือ มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในช่วงระหว่างปี
พ.ศ.2555-2557 ร้อยละ 54.2 ที่มีการแข่งขันระหว่างผู้สมัครสองหรือสามคน มีเพียง 16.9% เท่านั้นที่มีผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้งเพียงคนเดียว
ประการที่สอง การต่อสู้ของคู่ต่อสู้ตัวแทนตระกูลการเมือง ในการเลือกตั้งครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า คู่ต่อสู้
ในสนามเลือกตั้งที่โดดเด่นชัดเจน คือ การแข่งขันระหว่างนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร จาก “พรรคเพื่อไทย” และ
นายบุญเลิศ บูรณูปกรณ์ จากกลุ่ม “เชียงใหม่คุณธรรม” การหาเสียงเลือกตั้ง นายก อบจ. ครั้งนี้นับเป็นอีกครั้งที่มี
ความรุนแรงทั้งในด้านการสื่อสารทางการเมืองที่โยงกับอุดมการณ์และเหตุการณ์ในอดีตช่วงเวลาของ คสช. การต่อสู้
โดยใช้สงครามข้อมูล และเงินยังคงมีอิทธิพลสูงในการเลือกตั้งผ่านระบบการซื้อเสียงและเครือข่ายหัวคะแนน
ในช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้งยุทธศาสตร์ส าคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร คือ
การปราศรัยหาเสียง การจัดเวทีปราศรัยตามแต่ละอ าเภอ เป็นเครื่องมือส าคัญของการช่วงชิงความได้เปรียบใน
คะแนนเสียง ถึงแม้ภาพที่ปรากฎในสนามเลือกตั้งเชียงใหม่จะเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคการเมือง (พรรคเพื่อไทย)
กับกลุ่มตระกูลการเมือง (บูรณุปกรณ์) แต่อีกด้านหนึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างตระกูลการเมืองเชียงใหม่ที่เก่าแก่ 2
ตระกูลคือ ตระกูลชินวัตรกับตระกูลบูรณุปกรณ์ เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ตระกูลชินวัตรได้มาช่วยสนับสนุนการหา
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 58