Page 84 - kpiebook64008
P. 84
การต่อสู้ของพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม น าไปสู่ค าถามส าคัญว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ คือ
ศึกศักดิ์ศรีของพรรคเพื่อไทย หรือ เป็นการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ เพราะการน าเสนอนโยบายของทั้งสองกลุ่ม ไม่ได้
โดดเด่นมากไปกว่าการพยายามชูสถานภาพจุดยืนของตนเองว่าต่างอยู่ข้างประชาธิปไตย ต่างเป็นคนเสื้อแดงและ
มีความผูกพันกับอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวชินวัตรมาอย่างยาวนาน
นายพิชัยให้สัมภาษณ์ในสื่อออนไลน์ตอกย้ าขั้วอุดมการณ์ประชาธิปไตยของพรรคที่ตนเองสังกัด
“สมัยเลือกตั้งเป็น ส.ว.เชียงใหม่ เมื่อปี 2551 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอันดับ 1 ด้วย 170,000
กว่าคะแนน จากผู้สมัครกว่า 30 ราย ล่าสุดการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่ 9 เขต เมื่อปี 2562 เพื่อไทยชนะเลือกตั้ง
ทุกเขต ได้เสียงสนับสนุนรวมกว่า 300,000 คะแนน สูงเป็นอันดับ 1 เช่นกัน ดังนั้นจึงชูเพื่อไทยเป็นจุดขายหลัก
ซึ่งเป็นพรรคที่ส่งเสริมสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านระบอบเผด็จการ หรือท ารัฐประหารยึดอ านาจจาก
รัฐบาลที่มาจากประชาชน พร้อมส่งเสริมการกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นมาโดยตลอด” (มติชนออนไลน์, 2563ก)
การเมืองในการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ครั้งนี้ ต้องเชื่อมโยงการวิเคราะห์กับผลคะแนนการเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2562 ที่นอกจากเกิดปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่ที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่อย่างท่วมท้นแล้ว ยังเป็นเรื่องของ
การชูความคิดเชิงอุดมการณ์ของหัวหน้าพรรคทั้งส่วนของพรรคอนาคตใหม่ และทางฝั่งของพรรคเพื่อไทยที่
ต่างหาเสียงปะทะกับพรรคพลังประชารัฐที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เมื่อพรรค
เพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปทั้ง 9 เขตเลือกตั้งในเชียงใหม่ และมีพรรคอนาคตใหม่ตามมาเป็นล าดับที่ 2 ถึง 6 เขต
เลือกตั้ง จึงไม่น่าสงสัยที่การหาเสียงในระดับท้องถิ่นจะมีการตอกย้ าขั้วอุดมการณ์และการต่อต้านเหตุการณ์
รัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ในการหาเสียงกับฐานคะแนนเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ได้ บรรยากาศ
ของการใช้สถานการณ์และเหตุการณ์การเมืองระดับชาติมาเชื่อมโยงกับการเมืองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งกับคู่
แข่งขันทั่ง 2 ฝ่ายและผู้สมัคร นายก อบจ. คนอื่น ๆ นับเป็นกลยุทธ์และการพยายามของผู้สมัคร นายก อบจ.
ที่ต้องการใช้ภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองหรือการเมืองระดับชาติมาพิสูจน์สถานภาพ การเลือกข้างของฝ่ายตนเอง
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ในสื่อช่วงก่อนการก าหนดวันเลือกตั้ง อบจ.
ถึงการที่พรรคเพื่อไทย เลือกนายพิชัยมาลงแข่งขันในต าแหน่ง นายก อบจ. ในนามพรรคเพราะเคยเป็น ส.ว.
เชียงใหม่ รู้และเข้าใจบริบทการพัฒนาเชียงใหม่ให้เจริญมากกว่านี้ โดยเฉพาะจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา “...
มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.เชียงใหม่ทั้ง 9 เขต ซึ่งเป็นของพรรคเพื่อไทย 8 เขต และอีก 1 เขตของ
พรรคอนาคตใหม่ ที่เป็นพันธมิตรกันเป็นอย่างดี” (News 1, 2562) โดยณัฐกร วิทิตานนท์ (2563ก) มองว่าในอดีต
การเมืองระดับชาติกับระดับท้องถิ่นแยกส่วนออกจากกัน แต่นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ.2549 ท าให้เกิด
ขั้วทางอุดมการณ์การเมืองที่แบ่งข้างชัดเจน ท าให้ปัจจัยในการเมืองระดับชาติมีผลชี้ขาดการแพ้-ชนะการเลือกตั้ง
ในระดับท้องถิ่นด้วย ในการเลือกตั้ง อบจ. ทั่วประเทศครั้งนี้พรรคการเมืองระดับชาติเล็งเห็นการรุกล้ าของพรรคขั้ว
ตรงกันข้ามคือ พรรคพลังประชารัฐ ท าให้พื้นที่การเมืองท้องถิ่นมีความจ าเป็นที่จะต้องรักษาหรือช่วงชิงมาเพื่อการ
ต่อสู้เข้าสู่ต าแหน่งการเลือกตั้งในระดับอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ไม่เพียงแต่พรรคการเมืองระดับชาติเท่านั้นแต่
กลุ่มการเมืองระดับชาติมีผลอย่างยิ่งต่อการเมืองท้องถิ่น เห็นได้ชัดเจนกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดง ดังที่ ชัยพงษ์
ส าเนียง (2562, น. 165-167, 176-177) ชี้ให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงท าให้เกิดการตื่นตัวทาง
การเมืองในระดับท้องถิ่น เพราะพื้นที่เสื้อแดงกลายเป็นพื้นที่การเมืองของพรรคการเมืองมากกว่ารูปแบบของการ
วัดอ านาจการเมืองผ่านตัวนักการเมืองที่ครองอ านาจในพื้นที่ ชัยพงษ์มองว่า การเมืองท้องถิ่นมีลักษณะเฉพาะใน
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 63