Page 81 - kpiebook64008
P. 81

พ.ศ.2557 เมื่อนายบุญเลิศ ถูก คสช.กล่าวหาถึงการกระท าผิดกฎหมาย ในการมีส่วนในการรณรงค์คว่ าร่าง
               รัฐธรรมนูญ ในช่วงก่อนท าประชามติเมื่อปี พ.ศ. 2559 เป็นเหตุท าให้คนของตระกูลบูรณุปกรณ์ ได้แก่ นายบุญเลิศ

               ถูกควบคุมตัวที่มณฑลทหารบกที่ 11 ก่อนถูกคุมขัง ณ เรือนจ ากลางเชียงใหม่ อ าเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
               รวมทั้งหลานสาวทั้งสองคน ซึ่งรวมถึงนางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ ถูกด าเนินคดีและจับขังระหว่าง
               การรอพิจารณาคดีในทัณฑสถานหญิง จังหวัดเชียงใหม่ และมีบุคคลใกล้ชิดที่ถูกจับกุมด าเนินคดีอีกจ านวนหลาย
               คน แม้จะได้รับการประกันตัวและการปล่อยตัวในเวลาต่อมา แต่นายบุญเลิศก็ถูกสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ

               นายก อบจ.

                        ความยากล าบากของตระกูลบูรณุปกรณ์ คือ แรงกดดันจากฝ่ายทหารที่ไม่ต้องการให้ตระกูลบูรณุปกรณ์
               สนับสนุนฐานการเมืองของเพื่อไทยอีกต่อไป จนมีการวิพากษ์วิจารณ์ไปถึงข้อตกลงส าคัญที่น ามาสู่การปลดปล่อย
               ตระกูลบูรณุปกรณ์มาสู่สนามการเมืองอีกครั้ง การเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม พ.ศ.2562 นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์

               เปิดให้เครือข่ายทางการเมืองและ ส.อบจ.ที่อยู่ภายใต้กลุ่มตนเองสามารถช่วยเหลือพรรคการเมืองใด ๆ ก็ได้
               ที่ไม่จ าเป็นต้องเป็นพรรคเพื่อไทย จากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม
               การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่” โดย ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ (2563, น. 79-80) ได้สัมภาษณ์

               บุคคลส าคัญในครอบครัวบูรณุปกรณ์พบว่า ภายหลังจากเหตุการณ์ของคดีความ การวางตัวเป็นกลางและไม่
               สนับสนุนใครหรือขัดขวางใครในการเลือกตั้งคือ สิ่งที่เป็นจุดยืนในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ซึ่งผู้สมัครของพรรค
               พลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 1 ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ให้สัมภาษณ์ว่าตนเองเป็นเพื่อนายบุญเลิศ
               แม้ตนเองจะลงพรรคพลังประชารัฐ แต่นายบุญเลิศยืนยันว่าจะเป็นกลางในการเลือกตั้งครั้งนี้ และไม่สนับสนุนใคร
               หรือพรรคไหน ซึ่งต่อมาในการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่ ผู้สมัครคนนี้คือ ผู้สมัคร ส.อบจ.ในนามกลุ่มเชียงใหม่

               คุณธรรม เขตอ าเภอเมืองของนายบุญเลิศนั่นเอง การที่นายบุญเลิศผู้มีฐานการเมืองท้องถิ่น หัวคะแนน เครือข่าย
               นักการเมืองท้องถิ่นในมือไม่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งทั่วไป ถือเป็นชนวนส าคัญของการ
               ตัดความสัมพันธ์ระหว่างนายบุญเลิศกับแกนน าพรรคเพื่อไทย ส.ส. พรรคเพื่อไทยที่เดิมอยู่ภายใต้การดูแลของ

               นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และน ามาสู่ความขัดแย้งต่อเนื่องในการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่

                        นายบุญเลิศ ลงสนามการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ในนามกลุ่มอิสระ “กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม” ในช่วงแรก
               ของการหาเสียงเลือกตั้ง นายบุญเลิศต้องสร้างความเข้าใจและเหตุผลต่อประชาชนอย่างมากถึงความชัดเจนว่า
               ท าไมนายบุญเลิศจึงไม่ใช่ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย เพราะเชียงใหม่ คือ ฐานเสียงพรรคเพื่อไทยทั้ง 9 เขต หากมอง

               จากผลคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 และเชียงใหม่ยังถือเป็นฐานคนเสื้อแดงที่เข้มแข็ง

                        นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ หลานสาวนายบุญเลิศได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ส่วนตัวเคยคุยกับ
               นายบุญเลิศ ถึงการตัดสินใจลงสมัครในนามกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม เพราะไม่มีทางเลือก แต่ไม่เคยลืมเพื่อไทย
               ซึ่งนายบุญเลิศ เคยเปรยว่า หากนายทักษิณ ส่งสัญญาณไม่ให้ลงสมัครดังกล่าว เพราะมีตัวแทนแล้ว คงถอนตัว ไม่
               ลงสมัครแข่งกับเพื่อไทย. เพราะถือเป็นลูกน้องนายทักษิณเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ขอก้าวล่วง กรณีจดหมายดังกล่าว

               มองว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่อยากให้การเลือกตั้งดังกล่าว เป็นเรื่องท้องถิ่นมากกว่าการเมืองระดับชาติ เพื่อให้
               ประชาชนตัดสินใจกันเอง” (มติชนสุดสัปดาห์, 2563) การประกาศตัวของนายบุญเลิศพยายามตอกย้ าการเป็นกลุ่ม
               อิสระ ไม่มีการครอบง าจากพรรคการเมือง แม้จะมีกระแสความสัมพันธ์ระหว่างนายบุญเลิศกับนายธรรมนัส
               พรหมเผ่า บุคคลที่มีบทบาทส าคัญของพรรคพลังประชารัฐในพื้นที่ภาคเหนือ กอปรกับพื้นที่การเมืองของจังหวัด





                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   60
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86