Page 72 - kpiebook64008
P. 72
บทที่ 3
บทบาทของพรรคการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ในบทที่ 3 นี้จะเป็นการน าเสนอข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ สภาพบริบททางการเมือง
ในระดับชาติที่ส่งผลต่อบริบทการเมืองในระดับท้องถิ่น การน าเสนอบรรยากาศการแข่งขันทางการเมืองในพื้นที่
ของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงใหม่ ซึ่งเชื่อมโยงกับ การต่อสู้ทางการเมืองของพรรคการเมือง ตระกูล
การเมือง และน าเสนอกลุ่มการเมืองในจังหวัดทั้งกลุ่มที่มีอยู่เดิมและกลุ่มการเมืองใหม่ที่ปรากฎให้เห็นในการ
เลือกตั้ง อบจ. แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา
ปรากฎการณ์การกระจายอ านาจอย่างเป็นรูปธรรมในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ท าให้เกิดการตรา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่ได้วางหลักเกณฑ์การเลือกตั้ง
ผู้บริหารท้องถิ่นด้วยวิธีการเลือกตั้งโดยตรงให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท และในเวลาต่อมาก็ได้มี
การแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2546 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติสภาต าบลและองค์การบริหาร
ส่วนต าบล(ฉบับที่5) พ.ศ.2546 โดยพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับนี้ได้ส่งผลให้เกิดการเลือกตั้งผู้บริหาร ท้องถิ่น
โดยตรงทั่วทั้งประเทศเป็นครั้งแรก แต่เมื่อเกิดการรัฐประหาร น าโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะ
รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 อาศัยอ านาจตามมาตรา 44 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ออกประกาศหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่
85/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการ
ชั่วคราว นับแต่นั้นมาประเทศไทยจึงตกอยู่ในห้วงสุญญากาศทางการเลือกตั้งจนกระทั่งมาเกิดการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562 และการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกหลังการรัฐประหาร คือ
การเลือกตั้ง อบจ. ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และในการเลือกตั้งล่าสุด คือ การเลือกตั้งในระดับเทศบาลทั่ว
ประเทศ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564
ปรากฎการณ์ทางการเมืองหลายครั้งในช่วงนับตั้งแต่การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 จนมาสู่
การรัฐประหารถึง 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 มีผลอย่างยิ่งต่อวิวัฒนาการและพัฒนาการของ
การเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสร้างอ านาจทางการเมืองในระดับชาติที่
ครอบคลุมอ านาจการเมืองในระดับหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายหรือแนวนโยบายที่ออกมาจาก
การเมืองช่วงกว่า 20 ปี ต่างเป็นสิ่งที่ก าหนดความเป็นไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าการมีอิสระ
ในการก าหนดทิศทาทางการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ข้อเท็จจริงหนึ่งที่สะท้อนปัญหาทางการเมืองในระดับชาติคือ
การเกิดขึ้นของการเมืองภาคประชาชนทั้งการเมืองบนท้องถิ่น การแสดงสัญลักษณ์ทั้งในทางสังคมและสื่อออนไลน์
เป็นสิ่งที่สะท้อนความอัดอั้นของการแสดงออกทางการเมืองอย่างเป็นทางการผ่านกลไกการเลือกตั้ง การเลือกตั้งจึง
กลายเป็นหนทางของการสร้างฐานทางการเมืองใหม่ และการแสวงหาการสนับสนุนทางการเมืองจากประชาชน
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 51