Page 67 - kpiebook64008
P. 67

จากตารางที่ 2.9 แสดงให้เห็นว่า จ านวน ส.อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ จ านวนทั้งหมด 42 คน ส่วนใหญ่ เป็น
               เพศชาย จ านวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 83 ในขณะที่ มีเพศหญิงที่ชนะการเลือกตั้ง จ านวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17
               ซึ่งอยู่ใน อ าเภอเมืองเขต 2 และ 3 อ าเภอฝางเขต 1 อ าเภอสันทรายเขต 3 อ าเภอสันก าแพงเขต 1 และ 2 และ
               อ าเภอสารภี เขต1


                                                                        หญิง
                                                                        17%


















                                                 ชาย
                                                83%


                                แผนภูมิที่ 2.1  แสดงจ านวนร้อยละ เพศที่ชนะการเลือกตั้ง ส.อบจ. จังหวัดเชียงใหม่

                      ในสังคมการเมืองที่มีความหลากหลาย บทบาทผู้หญิงได้รับการถกเถียงในพื้นที่การเมืองและพื้นที่สาธารณะ
               มาอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของ "เพศ" ถ้าดูจากสถิติการของการเลือกตั้งในสนามใหญ่เทียบเคียงกับตัวเลขสถิติทางเพศ
               ในสนามการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น พบว่ามีผู้สมัครที่เป็นผู้ชายกว่า 285 คน คิดเป็นร้อยละ 86.10 ในขณะที่ผู้หญิง

               เพียง 46 คน คิดเป็นร้อยละ 13.90 เท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, 2563)

                      โอกาสในการเข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองของผู้หญิงมักมีคุณสมบัติที่ถูกสร้างขึ้นมาจากปัจจัยแวดล้อมมากกว่า
               การยอมรับบทบาททางเพศของผู้หญิงที่สร้างสถานะทางสังคมขึ้นมาเอง ในการเมืองระดับชาติพรรคการเมืองคือ
               จุดเริ่มต้นของการเปิดพื้นที่ทางการเมืองของผู้หญิง แต่เมื่อการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไม่ได้ถูดมัดพันธนาการไว้กับ
               พรรคการเมืองท าให้ผู้หญิงที่มีโอกาสในการเสนอตัวท างานการเมืองระดับท้องถิ่นจ าเป็นต้องมีความเชื่อมโยงไปที่

               เครือข่ายอุปถัมภ์มากขึ้น นักการเมืองท้องถิ่นผู้หญิงแต่ละคนมักภูมิหลังและประวัติที่มาในการเข้ามาสู่การเมือง
               ท้องถิ่นที่ต่างกัน เช่น การเริ่มจากการเป็นผู้น าในชุมชนมาก่อน การรู้จักกับนักการเมืองท้องถิ่น หรือการมีญาติพี่น้อง
               สามีเป็นนักการเมืองท้องถิ่นอยู่ก่อนแล้วเป็นพื้นฐาน ข้อจ ากัดเงื่อนไขทางเพศยิ่งท าให้ผู้หญิงหันไปเข้าร่วมกิจกรรม

               ทางการเมืองหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การเสนอตัวในการเป็นตัวแทนเพื่อลงเลือกตั้ง ในข้อมูล
               ส่วนสุดท้ายของบทที่ 2 คือ การน าเสนอข้อมูลการเลือกซ้ าจากการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
               ซึ่งตอกย้ าข้อค้นพบของการเลือก ส.อบจ. โดยพิจารณาจากคุณลักษณะส่วนบุคคลเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
               ท าให้การเลือกตั้งท้องถิ่นยังคงสะท้อนลักษณะพฤติกรรมการเลือกซ้ า









                  โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   46
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72