Page 66 - kpiebook64008
P. 66
2.2.5 ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ
สถานภาพทางการเมืองและสังคม เพศของผู้สมัคร และพฤติกรรมการเลือกซ้ าที่ปรากฏในการเลือกตั้ง อบจ.
เชียงใหม่สะท้อนนัยส าคัญต่อการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งดังนี้
สถานภาพทางการเมืองและสังคม
อาชีพ จ านวน ร้อยละ
นักการเมืองท้องถิ่น 27 64.28
ผู้น าชุมชน 7 16.66
นักธุรกิจ 5 11.90
อดีตข้าราชการ/พนักงานของรัฐ 2 4.77
อื่นๆ 1 2.39
รวม 42 100
ตารางที่ 2.8 แสดงจ านวน ร้อยละอาชีพของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งส.อบจ. จังหวัดเชียงใหม่
จากตารางที่ 2.8 แสดงให้เห็นว่า จ านวน ส.อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ จ านวนทั้งหมด 42 คน ส่วนใหญ่เป็น
นักการเมืองท้องถิ่น จ านวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 64.28 รองลงมาเป็นผู้น าชุมชน จ านวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ
16.66 และนักธุรกิจ จ านวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 11.90 ตามล าดับ และมีข้อมูลหรือประเด็นที่น่าสนใจ
คือ นักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่สังกัดกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมที่ได้รับการเลือกตั้ง จ านวน 17 คน เป็นผู้น าชุมชน
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนยังให้ความส าคัญในการตัดสินใจเลือก ส.อบจ. จังหวัดเชียงใหม่จากปัจจัยและ
ประสบการณ์ของการเป็นอดีตนักการเมืองท้องถิ่นและเป็นผู้น าชุมชนที่คุ้นเคยหรือรู้จักมีบทบาทหน้าที่ในพื้นที่มานาน
สถานภาพทางเพศของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
นอกจากนี้ จากข้อมูลตารางสรุปผลคะแนนผู้ชนะการเลือกตั้ง ส.อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ท าให้เห็นประเด็น
น่าสนใจ ดังนี้ประเด็นด้านเพศกับการได้รับการเลือกตั้งเข้าไปมีบทบาททางการเมืองท้องถิ่น คือ มีจ านวน 7 คน
(จากจ านวน 42 คน) ในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดของจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 146
คน โดยมีผู้สมัคร ส.อบจ.จ านวนรวม 140 คน จากทั้ง 25 อ าเภอ แต่เมื่อแบ่งตามเพศ สามารถแบ่งเพศชายออกเป็น
จ านวน 118 คน คิดเป็น 84.3 % และเพศหญิงจ านวน 22 คน คิดเป็น 15.7% ในส่วนผู้สมัครนายกองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเป็นผู้ชายทั้งหมด 6 คน
เพศ จ านวน ร้อยละ
ชาย 35 83
หญิง 7 17
รวม 42 100
ตาราง 2.9 ตารางแสดงสัดส่วนเพศที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.อบจ. เชียงใหม่
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 45