Page 61 - kpiebook64008
P. 61

จากข้อมูลสถิติการเลือกตั้งตารางที่ 2.6 แสดงจ านวนและสัดส่วนผู้มีสิทธิ ผู้มาใช้สิทธิ บัตรดี บัตรเสีย
               จากการศึกษาสถิติจ านวน ร้อยละของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งร้อยละของบัตรเสียและร้อยละของบัตรไม่เลือกผู้สมัครใด
               ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถกล่าวถึงประเด็นในการพิจารณาได้ทั้งสิ้น

                       ประเด็นที่ 1  จ านวนร้อยละ ผู้มาแสดงตนใช้สิทธิเลือกตั้ง

                       ประเด็นที่ 2  จ านวนร้อยละ บัตรเสีย
                       ประเด็นที่ 3   จ านวนร้อยละ ไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครใด
                       ประเด็นที่ 4  จ านวนร้อยละ คะแนนเสียงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ตามหมายเลข

               ประเด็นที่ 1 จ านวนร้อยละ ผู้มาแสดงตนใช้สิทธิเลือกตั้ง

                       จากการศึกษาข้อมูลเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม
               พ.ศ. 2563 จ านวนทั้งสิ้น 42 เขต มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 1,285,601 คน และมีผู้มาแสดงตนใช้สิทธิเลือกตั้ง

               ทั้งสิ้น 926,586 คน คิดเป็นร้อยละ 72.07 หากเทียบสถิติการมาใช้สิทธิเลือกตั้งย้อนหลังไป 3 ครั้ง คือ (ส านักงาน
               คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจ าจังหวัดเชียงใหม่)

                                -  14 มีนาคม พ.ศ.2547   ร้อยละของการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ 74.06

                                -  11 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ร้อยละของการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ 66.29

                                -  23 มิถุนายน พ.ศ.2555   ร้อยละของการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ 67.80

                       ในการเลือกตั้ง อบจ.ปี พ.ศ. 2563 จึงเห็นสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากขึ้น แต่ข้อสังเกต
               คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนและการตื่นตัวทางการเมืองในระดับท้องถิ่นในเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจ านวนมาก
               ที่สุดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอรอบนอกตัวเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ เขตอ าเภอแม่วาง คิดเป็นร้อยละ 81.18 ซึ่งเป็น

               ประเด็นที่น่าสนใจ อาจจะมีผลสืบเนื่องมาจากเป็นพื้นที่ที่มีการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีประเด็น
               ทางการเมืองที่ท าให้ประชาชนในเขตพื้นที่นี้มีความตื่นตัวและความสนใจต่อการเมืองในระดับท้องถิ่นที่มีความ
               เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองในระดับประเทศ รองลงมาคือ เขตอ าเภอกัลยาณิวัฒนา มีผู้มาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ
               80.08 ซึ่งเป็นอ าเภอที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2552 และประชากรส่วนใหญ่ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ยังมี

               สภาพบริบททางสังคมแบบชุมชนดั้งเดิม พึ่งพิงการเกษตร และต้องการการพัฒนาสูง บทบาทของนักการเมืองใน
               ระดับท้องถิ่นจึงมีความส าคัญต่อคนในพื้นที่มาก และพื้นที่ที่มีผู้มาใช้สิทธิมากเป็นอันดับ 3 คือ อ าเภอสันก าแพงเขต
               2 มีผู้มาใช้สิทธิ 79.77 ซึ่งการเมืองในอ าเภอสันก าแพงมีความเข้มข้นจากการต่อสู้ของทั้งพรรคเพื่อไทยและเชียงใหม่

               คุณธรรมที่ต่างชูประเด็นการเป็นคนในพื้นที่ของทั้ง 2 ฝ่าย การกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันจึงมีผลท าให้คนมาใช้สิทธิ
               มากขึ้นด้วย จะเห็นว่าบริบททั้งทางสังคมและการเมืองของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันและมีผลต่อพฤติกรรม
               การลงคะแนนเสียงและทิศทางการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมืองในการเมืองท้องถิ่นอย่างยิ่ง

                       ในทางตรงกันข้าม หากพิจารณาผู้มาแสดงตนใช้สิทธิเลือกตั้งที่น้อยที่สุด ปรากฏว่า 3 เขต ที่มาใช้สิทธิ
               เลือกตั้งน้อยส่วนใหญ่เป็นเขตเลือกตั้งในอ าเภอเมืองทั้งสิ้น  ได้แก่ อ าเภอเมือง เขต 2 คิดเป็นร้อยละ 59.74

               รองลงมา คือ อ าเภอเมือง เขต 4 คิดเป็นร้อยละ 60.45 และอ าเภอเมือง เขต 3 คิดเป็นร้อยละ 61.97 ตามล าดับ
               ซึ่งสาเหตุของการไม่ไปใช้สิทธิอาจเกิดได้ในหลายปัจจัย เช่น การไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตเลือกตั้งตนเอง เนื่องจาก
               การเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่มีการเปิดให้ลงคะแนนล่วงหน้าหรือลงคะแนนนอกเขตได้ สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและ




                  โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   40
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66