Page 73 - kpiebook64008
P. 73
ดังนั้น เมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 จนมาถึงการเลือกตั้ง อบจ. และ
เทศบาล โอกาสและความท้าทายของพรรคการเมืองและนักการเมืองทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นในการกลับมา
สร้างฐานอ านาจทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายในระบบรัฐสภา การแข่งขันทางการเมือง
ในการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่ปรากฏอย่างชัดเจน รุนนแรนในการเลือกตั้งทุกระดับ โดยเฉพาะการเลือกตั้ง อบจ.
เชียงใหม่ที่ผ่านมา ที่การต่อสู้แข่งขันทางการเมืองเป็นเสมือนสงครามตัวแทนของพรรคการเมืองมากกว่าเป็น
การต่อสู้ในเชิงนโยบาย
3.1 บรรยากาศทางการเมืองในพื้นที่
การเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ มีความน่าสนใจเมื่อพรรคการเมืองระดับชาติลงสนามมาสู้กับกลุ่มการเมือง
ในท้องถิ่น การประกาศตัวอย่างชัดเจนของพรรคการเมืองในท้องถิ่น ถือเป็นยุทธวิธีในการสร้างแรงกระเพื่อมต่อ
รัฐบาลที่ได้มีการต่อสู้กันมานับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 การต่อสู้ในการเลือกตั้งทั่วไปนั้น ความรุนแรงจาก
การปะทะกันระหว่างขั้วอุดมการณ์ การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองใหม่ การยุบพรรคการเมือง ตลอดจนกระแสการคืบ
คลานของทหารในสนามการเมือง ท าให้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น คือ การวางยุทธศาสตร์พื้นที่ของพรรคการเมือง
เพื่อการชนะการเลือกตั้งและการยึดโยงเครือข่ายการเมืองเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองในระยะยาว หากมองภาพรวม
ของบทบาทพรรคการเมืองในภาคเหนือตอนบนตามแผนภาพที่ปรากฎใน The Momentum(2563)
แผนภาพ 2.1 แผนภาพจ านวนผู้สมัครนายก อบจ. 9 จังหวัดภาคเหนือที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองระดับชาติ
ที่มา The Momentum (2563)
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 52