Page 174 - kpiebook64008
P. 174
ในขณะเดียวกันการซื้อเสียงยังคงเป็นวิธีการส าคัญที่ถูกใช้เพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งภาพที่ปรากฏในการเลือกตั้ง
อบจ. เชียงใหม่ครั้งนี้จะส่งผลต่อแนวทางการจัดการเลือกตั้งของรัฐบาลในอนาคตอย่างแน่นอน
ข้อมูลการส ารวจและการลงพื้นที่พบว่าพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ลงคะแนน
เสียงเลือกตั้งหากแบ่งช่วงอายุจะพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น กล่าวคือ
ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 บทบาทของกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกแม้ไม่ได้เป็น
กลุ่มที่มีเสียงส่วนมาก แต่ตื่นตัวและให้ความสนใจ รวมทั้งสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองในฐานะผู้สนับสนุน
ทางการเมืองของพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างชัดเจน แต่จากข้อมูลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและ
การวัดความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้งพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่ได้ตื่นตัวต่อการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นมากนัก
หากวิเคราะห์ลงไปจะเห็นว่าการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นจะเชื่อมโยงกับบริบทพื้นที่แต่ละพื้นที่ แต่ละเขตเลือกตั้ง
มากกว่า ซึ่งจะเป็นกลุ่มอาชีพ วัยกลางคน หรือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนให้ความส าคัญต่อการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
โดยเฉพาะการให้ความส าคัญต่อ ปัจจัยด้านพรรคการเมือง นโยบายพรรคหรือกลุ่ม และการเป็นคนที่มีชื่อเสียงหรือ
เคยด ารงต าแหน่งมาก่อนมีความส าคัญต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ จากข้อสรุปของ
ข้อมูลที่น าเสนอยังชี้ให้เห็นความส าคัญอีกประการ คือ ในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีการต่อสู้และใช้วิธีการหา
เสียงเลือกตั้งด้วยข้อมูล ในระยะก่อนการเลือกตั้งมีแนวทางการน าเสนอต่อสู้ในเชิงนโยบาย แต่เมื่อใกล้วันเลือกตั้งการ
หาเสียงสะท้อนภาพของการต่อสู้ของตระกูลการเมืองระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลบูรณุปกรณ์อย่างชัดเจน
ปรากฎการณ์ส าคัญในการเลือกตั้งวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สะท้อนภาพของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง
และพรรคการเมืองซึ่งเคยเกี่ยวข้องกันมาก่อน หากมองสนามการเมืองท้องถิ่นของเชียงใหม่ในฐานะพื้นที่วัดพลังของ
พรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตรก็ไม่ได้ผิดไปมากนัก ข้อมูลคะแนนเสียงทั้งของผู้สมัครนายก อบจ. และ ส.อบจ.
ท าให้เห็นภาพของการต่อสู้แข่งขันแย่งชิงพื้นที่ทางการเมืองเพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงของการเลือกตั้งอื่นๆ ต่อไป
ข้อสังเกตจากการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ครั้งนี้คือ แม้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นกฎหมายจะไม่ได้มีการก าหนดให้
สังกัดพรรคการเมืองแต่นับเป็นครั้งแรกนับแต่มีการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่ บทบาทพรรคการเมืองเริ่มปรากฏให้เห็น
ในการเลือกตั้งท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ทั้งการประกาศสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. และส.อบจ. อย่างชัดเจนดังเช่นพรรค
เพื่อไทย หรือกลุ่มการเมืองอื่นๆ ที่สมัครลงแข่งขันกพยายามเชื่อมโยงภาพลักษณ์ของกลุ่มกับพรรคการเมืองระดับชาติ
ซึ่งหากวิเคราะห์ออกมาจะพบว่าการเชื่อมโยงพรรคการเมืองมองได้ ทั้งในเชิงการรักษาฐานคะแนนเสียงให้พรรค
การเมืองและได้ทั้งยุทธศาสตร์การชนะเลือกตั้ง ที่เชื่อว่า “ยี่ห้อ” (Brand) ของพรรคการเมืองที่มีนโยบายหาเสียง
ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาเป็นเครื่องมือส าคัญยังสามารถยึดครองความนิยมของคนในพื้นที่ได้
ข้อเสนอส าคัญจากการศึกษาวิจัย คือ การผลักดัน ส่งเสริมให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองให้
ความส าคัญต่อกระบวนการสร้างและก าหนดนโยบายท้องถิ่นอันเกิดจากการท าความเข้าใจข้อมูลประชาชน
ทั้งภาคการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ท าให้การเมืองท้องถิ่นสามารถสร้างความเข้มแข็งจากพื้นที่แต่ละพื้นที่อย่าง
แท้จริง ซึ่งการน าเสนอนโยบาย คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองท้องถิ่น เพราะหากนโยบายถูกพัฒนามา
จากประชาชน ย่อมตอบสนองความต้องการและเกิดกระบวนการตรวจสอบการท างานทางการเมือง
ดังนั้น สิ่งที่ยังคงต้องมีการท าอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับนโยบายและองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คือ
การส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความส าคัญต่อการผนึกเชื่อมโยงกับความต้องการของประชาชน
รวมทั้งการส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการแสดงบทบาทหน้าที่
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 153