Page 172 - kpiebook64008
P. 172

บทที่ 6


                                                  บทสรุปและข้อเสนอแนะ



               6.1  บทสรุป

                           ความส าคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ได้มีเพียงการส่งเสริมพัฒนาแนวทางการกระจายอ านาจแต่
               การเลือกตั้งท้องถิ่นยังมีความส าคัญในฐานะพื้นที่บ่มเพาะเรียนการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับรากหญ้า

               การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งในเรื่องผลประโยชน์ นโยบาย และการมีส่วนร่วมของประชาชนกับพื้นที่ท้องถิ่นของตนเอง
               ดังนั้น เมื่อการเลือกตั้งท้องถิ่นเกิดขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 จึงยิ่งท าให้การเลือกตั้งท้องถิ่น
               ในระดับ อบจ. คือ บทพิสูจน์ความต้องการของประชาชนในการเลือกตัวแทนการเมืองท้องถิ่นมาพัฒนาและก าหนด

               ทิศทางของจังหวัดตนเอง พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 25 อ าเภอ โดยมีการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
               จังหวัด (ส.อบจ.) จ านวน  42 คน และเลือก นายก อบจ. 1 คน ในการศึกษาวิจัยเรื่อง “การเลือกตั้งนายกองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563”  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ

                        1. เพื่อศึกษาและท าความเข้าใจข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
                           รวมทั้งบรรยากาศทางการเมืองของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และการเลือกตั้ง

                           สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

                        2. เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการในการหาเสียงเลือกตั้งและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                           เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

                        3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมทางการเมืองและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียง
                           ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่

                        4. เพื่อศึกษาปัญหาและประเด็นส าคัญในการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ

                           สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
                        โดยการวิจัยใช้วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร (Documentary Data) การเก็บ

               ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยภาคสนาม (Field Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการ
               วิจัยเชิงส ารวจ (Survey Research) โดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างของการเก็บรวบรวมข้อมูลส ารวจความคิด ความรู้ทาง
               การเมืองและการเลือกตั้ง อบจ. ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ท าการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปี

               คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ านวน 400 ตัวอย่าง และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวน 236 ตัวอย่าง
                        จากข้อมูลสถิติพื้นฐานของการเมืองในเชียงใหม่ เชื่อมโยงกับการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 และสถิติ

               การเลือกตั้งที่ผ่านมาจนถึงการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2563 ท าให้เห็นความส าคัญของพื้นที่
               การเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพรรคการเมืองระดับชาติ ตลอดจนกลุ่มเครือข่ายทางการเมือง
               ในพื้นที่ โดยเฉพาะเครือข่ายผู้น าและระบบหัวคะแนนของพรรคการเมือง การเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาคการเมือง

               และภาคธุรกิจเอกชนซึ่งถือเป็นกลไกส าคัญในการสนับสนุนทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะ





                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   151
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177