Page 173 - kpiebook64008
P. 173
การเลือกตั้งนายด อบจ. ที่พื้นฐานของผู้สมัครทั้งพรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมยึดโยงกับมีกลุ่ม
ผลประโยชน์ทางภาคธุรกิจ กลุ่มทุน กลุ่มข้าราชการ และตระกูลการเมือง พื้นที่การเมืองจังหวัดเชียงใหม่หากดูจาก
ผลการเลือกตั้งสามารถมองได้ว่าเป็นฐานการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมทางการเมืองและมุมมองของการเลือกตั้งท้องถิ่นในสายตาของผู้มีสิทธิลงคะแนน
เสียงเลือก ตั้งนั้น เปลี่ยนไปภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากการเคลื่อนไหวและเรียกร้องการ
กระจายอ านาจที่มีอย่างเข้มข้น ท าให้ประชาชนมีความคาดหวังต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2546 นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญที่กระตุ้นความตื่นตัวในการเมืองท้องถิ่นคือ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
โดยตรง ที่ท าให้นักการเมืองท้องถิ่นมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และประชน
ชนมีการตัดสินใจที่ค านึงถึงผลประโยชน์ตนเองโดยตรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ระบบการเลือกตั้งท้องถิ่นจะ
มีการเปลี่ยนแปลงแต่ตัวบุคคลที่มีความได้เปรียบในการลงสมัครแข่งขันการเลือกตั้งยังคงเป็นกลุ่มผู้น าท้องถิ่น
บุคคลผู้มีชื่อเสียงหรือเป็นคนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
จากผลการเลือกตั้งที่สังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลสถิติของการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมาพบว่าความสนใจ
ทางการเมืองและการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเน้น 2 ประเด็นส าคัญคือ ที่มา สถานภาพของตัวบุคคลหรือผู้สมัคร
และการเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองที่มาสนับสนุนผู้สมัคร การใช้ความภักดีต่อพรรคการเมือง (Party Loyalty)
ก็ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง บทบาทของพรรคการเมืองและความสัมพันธ์
ระหว่างการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นเห็นมีความชัดเจนมากขึ้นภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557
จากแรงกดทับของรัฐบาล คสช. ที่พยายามสร้างเครือข่ายทางการเมืองใหม่และสกัดกั้นเครือข่ายอ านาจของพรรค
เพื่อไทยและกลุ่มการเมืองในท้องถิ่นเดิม ดังนั้น รูปแบบการหาเสียงเลือกตั้งที่ปรากฎในการเลือกตั้งระดับชาติ
จึงเป็นการหาเสียงที่เน้นการชูจุดยืนเชิงอุดมการณ์ การเลือกข้างขั้วประชาธิปไตยกับขั้วอ านาจนิยม แนวทางการ
หาเสียงเหล่านี้ยังคงถูกน ามาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้ง อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ที่เพิ่มระดับความ
เข้มข้นของการหาเสียงในช่วงก่อนวันเลือกตั้งที่เน้นภาพลักษณ์ของผู้สมัครกับเจตนารมณ์เรื่องประชาธิปไตย
จากการลงพื้นที่พบว่าความนิยมในรูปแบบการปราศรัยหาเสียงในจังหวัดเชียงใหม่มีมากขึ้น แม้ในหลาย
พื้นที่พบการจัดตั้งมวลชนมาร่วมฟังปราศรัย มีการให้ค่าตอบแทนในการเข้าร่วม ในส่วนของรูปแบบการรณรงค์
หาเสียงเลือกตั้ง ทั้งการเดินเคาะตามประตูบ้าน การติดตั้งป้ายหาเสียง การแจกใบปลิวแนะน าตัว การใช้รถแห่
การเดินตลาดและสถานที่ชุมชน ยังคงเป็นรูปแบบมาตรฐานการหาเสียงที่นิยมใช้ทุกกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งสอดคล้อง
กับบริบทความเป็นชุมชนของจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการหาเสียงเน้นไปไปที่การท าให้ประชาชนรู้จักชื่อ หมายเลข
ผู้สมัคร นโยบายและสังกัดของผู้สมัคร แต่จากผลการศึกษาพบว่าสิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจในวันก่อนการเลือกตั้ง
อบจ. กลับเป็นเรื่องของข้อมูลทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม วิธีการสื่อสารที่ช่วงชิง
คะแนนเสียงในช่วงการเลือกตั้งที่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตรและขั้วอุดมการณ์ทางการเมืองระดับชาติที่
เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ท าให้ผู้สมัครอื่น ๆ ไม่สามารถช่วงชิงพื้นที่ความได้เปรียบในการหาเสียงได้ นับเป็นการตอกย้ า
พื้นที่การเมืองของพรรคไทยรักไทยเดิมมาสู่พรรคเพื่อไทยท าให้คู่ต่อสู้หลักคือพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม
ต่างที่มุ่งหาเสียงจากกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ส าคัญรากฐานของเครือข่ายหัวคะแนนที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั่วไป
กับระยะเวลาของการครองอ านาจของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการจัดสรรคะแนนเสียงในเขตพื้นที่ต่างๆ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 152