Page 133 - kpiebook63031
P. 133
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
132 จังหวัดอุบลราชธานี
เขตเลือกตั้งที่ 6 อำาเภอเขมราฐ อำาเภอโพธิ์ไทร อำาเภอนาตาล อำาเภอศรีเมืองใหม่ (เฉพาะ
ต.นาเลิน ต.หนามแท่ง)
เขตเลือกตั้งที่ 7 อำาเภอศรีเมืองใหม่ (ยกเว้น ต.นาเลิน ต.หนามแท่ง) อำาเภอโขงเจียม อำาเภอ
ตาลสุม อำาเภอดอนมดแดง อำาเภอเมืองอุบลราชธานี (เฉพาะ ต.กระโสบ
ต.กุดลาด)
เขตเลือกตั้งที่ 8 อำาเภอพิบูลมังสาหาร อำาเภอสว่างวีระวงศ์ อำาเภอสิรินธร (เฉพาะ ต.ฝางคำา
ต.คันไร่ ต.นิคมสร้างตนเองลำาโดมน้อย)
เขตเลือกตั้งที่ 9 อำาเภอบุณฑริก อำาเภอนาจะหลวย อำาเภอสิรินธร (ยกเว้น ต.ฝางคำา ต.คันไร่
ต.นิคมสร้างตนเองลำาโดมน้อย)
เขตเลือกตั้งที่ 10 อำาเภอนำ้ายืน อำาเภอนำ้าขุ่น อำาเภอทุ่งศรีอุดม อำาเภอสำาโรง อำาเภอเดชอุดม
(เฉพาะ ต.ทุ่งเทิง)
โดยผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 จ.อุบลราชธานี ปรากฏว่า
พรรคเพื่อไทยคะแนนนำามากที่สุด 7 คน พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน และพรรคพลังประชารัฐ 1 คน เมื่อ
เทียบกับการเลือกตั้งใหญ่ครั้งล่าสุดในปี 2554 จังหวัดอุบลราชธานี มี ส.ส. 11 คน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.
7 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน และพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน (ไม่นับรวมการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2557
ที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้เป็นโมฆะ) จึงนับว่าไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม
2562 พบว่า ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนาไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา โดยมี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐเข้ามาแทน
ส่วน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ลดลง 1 ที่นั่ง โดยผู้สมัคร ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งประกอบด้วย (บูรพา เล็กล้วนงาม,
2562)
เขต 1 พรรคเพื่อไทย นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ (อดีต ส.ส. ปี 2554)
เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ นายวุฒิพงษ์ นามบุตร (อดีต ส.ส. ปี 2554)
เขต 3 พรรคเพื่อไทย นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี
เขต 4 พรรคเพื่อไทย นายเอกชัย ทรงอำานาจเจริญ
เขต 5 พรรคเพื่อไทย นายรัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์
เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ นายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์
เขต 7 พรรคเพื่อไทย นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ (อดีต ส.ส. ปี 2554)
เขต 8 พรรคประชาธิปัตย์ นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย (อดีต ส.ส. ปี 2554)
เขต 9 พรรคเพื่อไทย นายประภูศักดิ์ จินตะเวช
เขต 10 พรรคเพื่อไทย นายสมคิด เชื้อคง (อดีต ส.ส. ปี 2554)