Page 130 - kpiebook63031
P. 130

129








                  นักเรียน นักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่ รวมทั้งกลุ่มช่วงอายุวัยกลางคนทั่วไปเข้ามารับฟังการปราศรัย

                  เป็นจำานวนมาก และอยู่ฟังจนจบการปราศรัย ขณะที่การปราศรัยพรรคใหญ่ๆ บางพรรค ประชาชน
                  เข้ามาฟังเฉพาะช่วงแรก และเดินทางกลับแม้ว่าหัวหน้าพรรคกำาลังปราศรัยหรือยังไม่เลิกเวทีปราศรัย


                            (3) การใช้เงินซื้อเสียง กรณีการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 จังหวัด

                  อุบลราชธานี ค้นพบว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการจ่ายเงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลายของพรรคการเมืองกลุ่มหนึ่ง
                  ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในจังหวัดอุบลราชธานี บางพรรคพบการใช้เงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลาย

                  (แบบปูพรม) เกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด เฉลี่ยรายละ 200-500 บาท โดยบางพื้นที่พบการจ่ายเงินซื้อเสียง
                  2-3 รอบ ขณะที่บางพื้นที่พบการจ่ายเงินซื้อเสียงแบบประกบคู่สองพรรค กล่าวคือ หากไม่ชอบพรรคแรก

                  ก็ให้เลือกอีกหนึ่งพรรคซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรกัน การจ่ายเงินซื้อเสียงจะให้หัวคะแนนในหมู่บ้านเดินจ่าย
                  ตามบ้าน หรือนัดมารับ หรือจ่ายในช่วงการนำาประชาชนเข้าร่วมฟังปราศรัยของพรรคการเมือง ทั้งเวทีย่อย

                  และการปราศรัยใหญ่ของพรรคในจังหวัดอุบลราชธานี ช่วงเวลาการจ่ายเงิน พบเป็นช่วงเวลาเช้ามืด
                  เป็นต้นไป ของวันที่ 23 มีนาคม 2562 ก่อนเลือกตั้ง 1 วัน ส่วนการจ่ายเงินก่อนหน้านี้ พบว่า จะจ่ายเงิน

                  ช่วงเวลากลางวันโดยส่วนใหญ่ ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคและผู้สมัครที่ใช้เงินซื้อเสียงอย่าง
                  แพร่หลายในจังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แต่สามารถเป็นตัวแปรช่วยเสริมคะแนน

                  ได้กับกลุ่มประชาชนบางพื้นที่หรือประชาชนบางส่วน แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักปัจจัยเดียวอีกต่อไป

                          ส่วนการซื้อเสียงโดยการให้สิ่งของหรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อื่น พบได้น้อย นอกจากการให้

                  คำามั่นสัญญาว่า เมื่อได้เลือกตั้งเข้าไปแล้วจะให้ผลประโยชน์อื่นเพิ่มเติม พบกรณีการหาเสียงกับบุคลากร

                  ทางการศึกษา (สพฐ.) เป็นต้น

                          ในด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง ข้อมูลจากการลงพื้นที่โดยการสำารวจพฤติกรรมการเลือกตั้ง

                  ผ่านการทำาโพลสำารวจทั้ง 10 เขต เลือกตั้ง พบว่า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินการเลือกตั้ง คือ
                  พรรคที่สังกัดอุดมการณ์ทางการเมือง (พรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพรรคที่ไม่สนับสนุน

                  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) การจ่ายเงินซื้อเสียง ตัวบุคคล นโยบายของพรรค ผู้นำาพรรคที่จะเสนอชื่อ
                  เป็นนายกรัฐมนตรี ตามลำาดับ ส่วนปัจจัยการจ่ายเงินซื้อเสียงไม่ได้เป็นปัจจัยสำาคัญปัจจัยเดียว หรือเป็น

                  เงื่อนไขที่จำาเป็นและเพียงพอ (Necessary and Sufficient Conditions ; NSC) ที่จะกำาหนดพฤติกรรม
                  ในการเลือกตั้งได้อีกต่อไป
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135