Page 128 - kpiebook63031
P. 128
127
และเขตเลือกตั้งที่ 9 อำาเภอบุณฑริก อำาเภอนาจะหลวย อำาเภอสิรินธร (ยกเว้น ต.ฝางคำา ต.คันไร่
ต.นิคมสร้างตนเองลำาโดมน้อย) นายสุพจน์ วรรณสุข มีค่าใช้จ่ายในการหาเสียง จำานวน 637,405.90 บาท
(ผลการเลือกตั้งได้อันดับที่สาม)
พรรคอนาคตใหม่ พบการทุ่มงบประมาณในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งที่ 3
อำาเภอวารินชำาราบ อำาเภอนาเยีย นายสถาพร ศรีแย้ม มีค่าใช้จ่ายในการหาเสียง จำานวน
1,386,840.60 บาท
โดยเมื่อพิจารณาทั้งหมด 10 เขต ของทุกพรรคการเมือง เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการหาเสียง
เลือกตั้ง ส.ส. เป็นรายบุคคลทั้งหมดในจังหวัดอุบลราชธานี สำาหรับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม
2562 พบว่า ผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่ ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งแบบแบ่งเขตสูงที่สุด
ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 3 อำาเภอวารินชำาราบ อำาเภอนาเยีย โดยนายสถาพร ศรีแย้ม มีค่าใช้จ่ายใน
การหาเสียง จำานวน 1,386,840.60 บาท (ผลการเลือกตั้งได้อันดับที่สาม) โดยในเขตเลือกตั้งเดียวกัน
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี พรรคเพื่อไทย มีค่าใช้จ่ายในการหาเสียง จำานวน 1,048,223.40 บาท
(ชนะการเลือกตั้ง) และนางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ มีค่าใช้จ่ายในการหาเสียง
จำานวน 976,279.92 บาท (ได้อันดับสอง)
4) สามารถสรุปจากหลักฐานเชิงประจักษ์ได้ว่า ปัจจัยด้านตัวบุคคล การลงพื้นที่หาเสียงของ
ผู้สมัคร ส.ส. ยังเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยหนุนเสริมนอกเหนือจากปัจจัยด้านพรรคที่สังกัด
อุดมการณ์ทางการเมือง (พรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพรรคที่ไม่สนับสนุน
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) และนโยบายของพรรค เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร
รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง) สามารถสะท้อนหรือชี้วัดระดับการลงพื้นที่
หาเสียงของผู้สมัคร ส.ส.ได้ในระดับหนึ่ง
ในการลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ของ 5 พรรคการเมืองสำาคัญการเลือกตั้ง วันที่
24 มีนาคม 2562 จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์
พรรคอนาคตใหม่ และพรรคภูมิใจไทย โดยการเชื่อมโยงกับรายงานค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร
รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ค้นพบยุทธศาสตร์ในการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร ส.ส.
(แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง) ของจังหวัดอุบลราชธานี ว่า 1) พรรคการเมืองที่ลงพื้นที่และใช้เงินหาเสียงเลือกตั้ง
ส.ส.ในครั้งนี้มากที่สุด รวมทั้ง 10 เขตเลือกตั้งคือ พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชารัฐ และ 2) กลุ่มพรรค
อันดับรองลงมา ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคอนาคตใหม่ (ยกเว้นพรรคเพื่อไทย
และพรรคพลังประชารัฐ ที่ให้ความสำาคัญกับทุกเขต) จะกำาหนดยุทธศาสตร์โดยเลือกทุ่มทรัพยากรลง
ในเขตพื้นที่ที่มีการประเมินแล้วว่าพรรคของตนจะมีโอกาสเบียดคู่แข่งชนะการเลือกตั้ง หรือสามารถ