Page 22 - kpiebook63030
P. 22
21
วิธีการเก็บข้อมูลของงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ เป็นเรื่องของวิธีวิทยา (Methodology) ซึ่งว่าด้วย
วิธีการในการได้มาซึ่งความรู้ ฐานข้อมูลของการทำางานวิจัยชิ้นนี้ ก่อนที่นำาไปสู่การวิเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง
โดยอาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ได้แก่ กรอบของกฎหมาย เช่น
ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และบทบาทของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ข้อมูลเชิงพื้นที่ในจังหวัดปัตตานี เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในจังหวัดที่กำาหนดทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ
ผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้งในเขตจังหวัดจังหวัดปัตตานี
1.5 ระยะเวลำท�ำกำรศึกษำ
1 มกราคม 2562 – 30 กันยายน 2562
1.6 ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงบรรยากาศทั่วไป ความรู้ความเข้าใจ และความเคลื่อนไหวของประชาชน คณะกรรมการ
เลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมืองและนักการเมืองในพื้นที่ องค์กรเอกชน องค์กร
สาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. ทราบถึงบทบาทและการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับต่างๆ รวมถึงปัญหา
อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร