Page 18 - kpiebook63030
P. 18
17
การจับตาของประเด็นทั้งหลายที่กล่าวมานั้น จึงควรจะได้รับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับพื้นที่ เพื่อการทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมืองกติกาใหม่ทางการเมือง
ซึ่งมีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง ขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปัตตานี
2.2 เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) จังหวัดปัตตานี
กลุ่มภาคประชาสังคม ที่เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัด
ปัตตานี
2.3 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง
ของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด
ปัตตานี
2.4 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็น
มูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปัตตานี
2.5 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่
ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดปัตตานี
1.3 ขอบเขตของกำรศึกษำ
1.3.1 ขอบเขตด้านเวลา
ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วง
ระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลังจาก
คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดปัตตานี
1.3.2 ขอบเขตประชากร
ประชากรที่ทำาการศึกษาได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม
สื่อมวลชน และองค์กรอื่นๆ ที่ติดตามและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งเขตจังหวัดปัตตานี