Page 21 - kpiebook63030
P. 21

20     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี





             1.4 วิธีกำรศึกษำวิจัย



                      ประเภทของข้อมูล สามารถแบ่งออกได้ดั้งนี้


                      ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการสัมภาษณ์

             เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้กำาหนดไว้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โดยการลงพื้นที่ในพื้นที่
             จังหวัดปัตตานี และนำาข้อมูลจากภาคสนามนำามาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดในการศึกษา


                      ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎี ทั้งที่

             ตีพิมพ์เป็นเอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากตำารา บทความทางวิชาการ เอกสารของทางราชการ
             และองค์กรเอกชน หนังสือ งานค้นคว้า วิจัย บทความ หนังสือพิมพ์ และรายงานสถิติต่างๆ ทั้งในและ

             ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานศึกษาชิ้นนี้


                      วิธีวิทยาในการศึกษา การวิธีการเก็บข้อมูล

                      การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษา

             ได้ลงพื้นสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดปัตตานี (กกต.

             จังหวัดปัตตานี) ผู้สมัครเลือกตั้งทั้ง 4 เขต โดยผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) นักสื่อสารมวลชน ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้ผู้วิจัยได้ทำาการจดบันทึกและบันทึก
             เสียงการสัมภาษณ์ไว้ทั้งหมดขณะการสัมภาษณ์โดยทำาการถอดข้อความคำาต่อคำาอย่างเคร่งครัด เพื่อ

             ป้องกันความผิดพลาดระหว่างการสัมภาษณ์ และนำาเนื้อหามาวิเคราะห์เพื่อแยกประเภท (Categories)

             สรุปรวบยอด (Conceptualize) ขึ้นมา จากนั้นจึงหาความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อให้เกิด
             ข้อสรุปทางด้านวิชาการอันเป็นขั้นตอนที่มีความสำาคัญ


                      สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non participative) การวิจัยแบบไม่มีส่วนร่วมหรือสังเกตการณ์
             แบบไม่มีส่วนร่วม (Non participative Observation) เป็นการสังเกตการณ์ที่ผู้วิจัยไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม

             ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเสมือนการเป็นคนข้างนอกแต่ทั้งนี้ เจตนาเพื่อต้องการให้ได้ข้อมูลในลักษณะ

             ที่มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด อาทิเช่น การสังเกตการณ์การปราศรัยของพรรคการเมืองต่างๆ ในเขตพื้นที่
             จังหวัดปัตตานี การเข้าร่วมวงเสวนาอภิปรายการเลือกตั้งจากองค์กรต่างๆ ที่จัดขึ้นในพื้นที่ ในขั้นตอนนี้
             มีความสำาคัญต่อการทราบถึงบรรยากาศการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปัตตานี


                      การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่ได้คัดเลือกและรวบรวมจาก

             การศึกษาเอกสาร บทความ วิจัย หนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ โดยเฉพาะข้อมูลในพื้นที่ออนไลน์ที่ถือว่า
             เป็นข้อมูลที่มีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดจนประกาศต่างๆ ของคณะกรรมการ

             การเลือกตั้งมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างมีนัยยะสำาคัญทั้งในแง่ของวิธีการการหาเสียงเลือกตั้งและ
             ผลของการเลือกตั้งครั้งนี้
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26