Page 27 - kpiebook63029
P. 27
26 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย
3.4 ขอบเขตด้านประชากร
สำาหรับประชากรในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน
องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่นๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ทั้งในระดับ
ประเทศและระดับเขตจังหวัดเลย ตลอดจนความคิด ความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม
และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
4. ระเบียบวิธีวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ประกอบด้วย
4.1 การศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
4.1.1 กรอบของกฎหมาย ได้แก่ ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยพุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ
บทบาทของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. 2560
4.2.2 ข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดเลย ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมือง
ที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งในปัจจุบัน การเลือกตั้งในอดีต และ
ข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่าย
นักการเมืองเก่าทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผลการเลือกตั้งย้อนหลัง
3 ครั้ง ของจังหวัดเลย
4.2 การสัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจาก
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในจังหวัดเลย
4.3 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดเลย โดยใช้การสังเกต บันทึก
และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง บทบาท
หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีบทบาทในการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ช่วงการเลือกตั้ง และช่วงเวลาหลังการเลือกตั้ง