Page 24 - kpiebook63029
P. 24

23








                  อุดมการณ์ทางการเมืองของนักการเมืองหลายคน   5


                          ปรากฏการณ์การประกาศเปลี่ยนอุดมการณ์ทางการเมืองของนักการเมือง หรือการย้าย

                  พรรคการเมืองนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและเกิดขึ้นมาหลายครั้ง หากย้อนไปในปี 2552 ศาลรัฐธรรมนูญ
                  ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนนำารัฐบาลในขณะนั้น เป็นผลให้เกิดการย้ายขั้วทางการเมือง

                  ส.ส. จากพรรคพลังประชาชนเดิมย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ขณะเดียวกัน ส.ส. บางส่วนได้ย้ายไปสังกัด
                  พรรคการเมืองใหม่ และให้การสนับสนุนผู้นำาฝ่ายค้านเป็นรัฐบาลแทน ท่ามกลางการคัดค้านจากประชาชน

                  เนื่องจากการย้ายพรรคและการสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ตรงข้ามกัน ไม่ใช่ความประสงค์ของ
                  ประชาชนที่ลงคะแนนเสียงให้ตั้งแต่แรก และการเลือกตั้งในปี 2554 ก็สะท้อนให้เห็นว่า ส.ส. หลายคน

                  ที่ย้ายพรรคการเมืองไม่สามารถรักษาที่นั่งเดิมเอาไว้ได้


                          จังหวัดเลย ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่ถูกจับตามอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันทางการเมืองสูง
                  ระหว่างตระกูลนักการเมืองที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเลย และหลายตระกูลก็สามารถนำาชัยชนะเข้าสู่
                  สภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย เช่น ตระกูลเร่งสมบูรณ์สุข ตระกูลสังขทรัพย์ ตระกูลแสงเจริญรัตน์

                  ตระกูลทิมสุวรรณ เป็นต้น รวมถึงมีความไม่คงนิ่งของการสังกัดพรรคการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดเลย

                  กล่าวคือ มักมีการเปลี่ยนแปลงหรือย้ายพรรคการเมืองที่สังกัดอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่อุดมการณ์ของ
                  พรรคการเมืองใหม่ที่ย้ายไปนั้นแตกต่างกับพรรคการเมืองเก่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหลายครั้งนักการเมืองที่ย้าย
                  ไปสังกัดพรรคการเมืองใหม่แต่ก็จะได้รับการเลือกตั้งเช่นเดิม เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ให้ความนิยม

                  บุคคล หรือนักการเมืองผู้นั้นไม่ได้รับการเลือกตั้งอีกเลย เนื่องจากประชาชนนิยมนโยบายพรรคและ

                  กระแสของพรรคการเมืองเป็นหลัก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเลยก็มี
                  ความหลากหลายแตกต่างกันด้วย เช่น การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2535 2538 และ 2539 จังหวัดเลยมี
                  เขตเลือกตั้ง 4 เขต และทั้ง 4 เขต ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งล้วนสังกัดพรรคการเมืองคนละพรรค แต่การเลือกตั้ง

                  ทั่วไปในปี 2544 เป็นต้นมา พรรคไทยรักไทยสามารถครองฐานคะแนนในทุกเขตพื้นที่ในจังหวัดเลย

                  แม้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคไทยรักไทยจะชนะเพียง 2 เขต คือ เขตเลือกตั้งที่ 1 และ 2 ส่วนเขตเลือกตั้ง
                  ที่ 3 และ 4 เป็นของพรรคเสรีธรรม แต่ในภายหลังพรรคเสรีธรรมได้ควบรวมพรรคการเมืองเข้ากับ
                  พรรคไทยรักไทย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พรรคไทยรักไทยก็สามารถนำาชัยชนะทางการเมืองและกุมฐานเสียง

                  ในเขตพื้นที่ของจังหวัดเลยได้ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายประชานิยมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

                                                                                       6
                  ทางเศรษฐกิจและรายได้ของคนรากหญ้า โดยเฉพาะคนอีสานอย่างเป็นรูปธรรม  แม้หลังการรัฐประหาร
                  ในปี 2549 พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่สืบทอดเจตนารมณ์มาจากพรรคไทยรักไทยเดิม
                  ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไปก็สามารถชนะด้วยเสียงข้างมากในทุกเขตเลือกตั้งอย่างท่วมท้น



                  5   “ย้ายพรรค สลับค่ายในรอบปี ก่อนลงสนามสู้ศึกเลือกตั้ง 62” มติชน, 28 ธันวาคม 2561, จาก www.matichon.
                  co.th/politics/news_1292550
                  6   กรณีดังกล่าวแตกต่างจากภาคใต้ พิจารณาใน บูฆอรี ยีหมะ, “ทำาไมพรรคประชาธิปัตย์จึงผูกขาดในภาคใต้?”
                  มติชน, 18 ธันวาคม 2561, จาก www.matichon.co.th/article/news_1277764
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29