Page 26 - kpiebook63029
P. 26
25
2. วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย
2.1 เพื่อศึกษาการแข่งขันทางการเมืองผ่านพรรคการเมืองและเครือข่ายทางการเมืองในเขต
พื้นที่จังหวัดเลย
2.2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่
จังหวัดเลย
2.3 เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและพรรคการเมืองที่มีต่อผลการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่จังหวัดเลย
3. ขอบเขตกำรวิจัย
3.1 ขอบเขตด้านเวลา
เป็นการศึกษานับจากช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงเวลาระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกากำาหนด
ให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือนภายหลังจากคณะกรรมการเลือกตั้ง
ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
3.2 ขอบเขตด้านพื้นที่
การวิจัยครั้งนี้กำาหนดพื้นที่ครอบคลุมทุกพื้นที่เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ
จังหวัดเลย
3.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา
เป็นการศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ในทุกประเด็น เช่น การแข่งขันทางการเมือง โครงสร้าง
ของตระกูลการเมือง หรือเครือข่ายทางการเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดเลย การเปลี่ยนแปลง
พรรคการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายทางการเมืองในจังหวัดเลยต่อ
รูปแบบการแพ้ชนะของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ระบบและรูปแบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ความแตกต่าง
ของนโยบายพรรคการเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดเลยภายใต้การดำาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์
ชาติ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้ลงคะแนนเสียง และ
ความสัมพันธ์ของนักการเมืองและพรรคการเมืองต่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือ
ประชาชนในพื้นที่ในห้วงระยะ 8 ปีที่ผ่านมาหลังการรัฐประหารในปี 2557