Page 23 - kpiebook63029
P. 23
22 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ได้เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองในหลายอย่าง โดยเฉพาะการมี
กติกาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการกำาหนดให้สมาชิกวุฒิสภาในวาระแรกจำานวน 250 คน
มีที่มาจากการสรรหาโดย คสช. ทั้งหมด และอำานาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีผ่านที่ประชุมของรัฐสภา
หรือเลือกร่วมกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ การเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่จำาเป็นต้องมาจาก
การเลือกตั้งในวาระแรก ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นั้น ได้บัญญัติไว้เพียงว่าให้นายกรัฐมนตรีต้องมา
จากการเลือกหรือได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 88 ระบุเพิ่มเติมไว้ว่าให้สภาผู้แทน
ราษฎรพิจารณาเห็นชอบคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีจากรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ก่อนเลือกตั้ง พรรคละ
ไม่เกินสามรายชื่อ ซึ่งไม่จำาเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ และมาตรา 272 ของบทเฉพาะกาล
ยังเปิดโอกาสให้มีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกเหนือจากรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ก่อนการเลือกตั้งได้
ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่จำาเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งได้โดยตรง แต่ก็ต้องเป็นไปตาม
หลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำาหนด นอกจากนี้ การมียุทธศาสตร์ชาติที่มีผลบังคับใช้แล้วจะมีผลให้รัฐบาล
หน้าที่มาจากการเลือกตั้งต้องแถลงนโยบายและเสนองบประมาณรายจ่ายประจำาปีให้สอดคล้องกับ
ตัวยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้น นโยบายที่พรรคการเมืองใช้ในการหาเสียงจึงจำาเป็นต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
ชาติด้วย เพราะหากรัฐบาลชุดใดมีการดำาเนินนโยบายขัดแย้งกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ก็มีโอกาสสูงที่จะถูก
2
คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือศาลรัฐธรรมนูญตัดสินลงโทษได้
กติกาเหล่านี้ ไม่เพียงจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเส้นทางการสืบทอดอำานาจของรัฐบาลทหารที่
ปูทางไว้ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้น รูปแบบหรือระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญ
ยังส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองหลายพรรค โดยเฉพาะพรรคการเมืองขนาดใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย
ที่มีสัดส่วนจำานวน ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่หากใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่จะทำาให้
3
พรรคเพื่อไทยเสียโอกาสได้ที่นั่ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อน้อยลง จึงเกิดปรากฏการณ์การแยกพรรคการเมือง
ขึ้น เพื่อดึงฐานคะแนนเสียงไม่ให้สูญเสียไป เช่น พรรคเพื่อไทยรักษาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเพื่อธรรม
ที่สมาชิกพรรคส่วนใหญ่มีรากฐานและแยกออกมาจากพรรคเพื่อไทย ขณะเดียวกันก็เกิดกลุ่มผลประโยชน์
4
ต่างๆ หลายกลุ่ม ที่ประสบความสำาเร็จในการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองให้กับตนเอง เช่น พรรค
รวมพลังประชาชาติไทย ที่พัฒนามาจากกลุ่มแนวร่วม กปปส. หรือพรรคพลังประชารัฐ ที่เกิดการประสาน
ผลประโยชน์ระหว่างกลุ่ม 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และกลุ่มสามมิตรที่อดีตเคย
ร่วมงานกับรัฐบาลทักษิณ โดยการดึงอดีต ส.ส. จากหลายพรรคการเมืองมาร่วมเป็นสมาชิกพรรคด้วย
จนเกิดเป็นกระแสการเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำานาจในทางการเมือง หรือการประกาศเปลี่ยน
2 อรรถพล เมืองมิ่ง, ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหาร การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการสร้างความปรองดอง
หลังการรัฐประหารในปี 2557, (ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2560).
3 “พลิกสูตรคำานวณยอด ส.ส. กับยุทธศาสตร์ แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย” บีบีซีไทย, 10 ตุลาคม 2561, จาก
www.bbc.com/thai/thailand-45781654
4 “ระบอบทักษิณ กับ ยุทธศาสตร์แยกกันเดิน ร่วมกันตี” บีบีซีไทย, 16 พฤศจิกายน 2561, จาก www.bbc.com/
thai/thailand-46231340