Page 89 - kpiebook63028
P. 89

88       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี








                      นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองหน้าใหม่ที่เป็นกลุ่มคนดังที่ลงสนามการเมือในครั้งนี้ เช่น นางสาววทันยา

             วงษ์โอภาสี หรือ มาดามเดียร์ – อดีตผู้จัดการทีมฟุตบอล U23 นายสงกานต์ อัจริยะทรัพย์ อาชีพทนายความ
             นายธวัชชัย สัจจกุล อดีตผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรค

             ไทยรักไทย นายเชษวุฒิ วัชรคุณ หรือคุณบ๊วย ซึ่งเป็นนักแสดง พิธีกร นายณพงศ์ นพเกตุ อดีตผู้อำานวยการสำานัก
             นิด้าโพล นายไกรเสริม โตทับเที่ยง ผู้บริหารธุรกิจด้านอาหาร ปุ้มปุ้ย นายจักรวี วิสุทธิผล เจ้าของกิจการไทย

             เศรษฐกิจประกันภัย นายสิระ เจนจาคะ อดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ ศิษย์เอกอดีตพระพุทธอิสระ เป็นต้น

                      กลุ่มนักการเมืองที่กล่าวมาข้างต้น เป็นกำาลังสำาคัญในทางการเมืองในนามกลุ่ม พรรคพลังประชารัฐ
             ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงในทางการเมืองในจังหวัดใหญ่ เช่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดกำาแพงเพชร และจังหวัดชลบุรี




             กำรเคลื่อนไหวทำงกำรเมือง: กำรแตกพรรคเพื่อไทย

             เพื่อตั้งพรรคไทยรักษำชำติ



                      พรรคไทยรักษาชาติ เกิดขึ้นจากการที่กติกาการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ได้มี
             การเปลี่ยนแปลง กล่าวคือระบบการเลือกตั้ง เป็นแบบระบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งมีผลทำาให้คะแนนใน

             การเลือกตั้งทุกคะแนนถูกนำามาใช้ในการคำานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีแกนนำาพรรคเพื่อไทยได้พิจารณา
                                                                          6
             ถึงกติกาดังกล่าวแล้วในระหว่างบรรดาผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจของพรรค  มีความตกลงกันร่วมกันในเบื้องต้น
             ในการนำาไปสู่การแบ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำานวนหนึ่งของพรรคเพื่อไทย ลาออกจากพรรคเพื่อไทยและ
             ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ (ซึ่งแต่เดิมนั้นพรรคไทยรักษาชาติไม่ได้ชื่อพรรคไทยรักษาชาติชื่อพรรครัฐไทย)

                      ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 มีการประชุมใหญ่พรรคไทยรักษาชาติและที่ประชุมพรรคมีมติเลือก

             ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค และ นายมิตติ ติยะไพรัช เป็นเลขาธิการพรรค มีแกนนำาที่สำาคัญ
             ที่เคยเป็นนักการเมืองในอดีตพรรคเพื่อไทยเข้ามาสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ เช่น นายจาตุรนต์ ฉายแสง นางสาว

             ขัตติยา สวัสดิผล นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นต้น ปรากฏการณ์เกิดพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็น
             พรรคเครือข่ายของพรรคไทยรักไทยส่งผลในทางการเมืองเนื่องจากมีการแบ่งเขตการเลือกตั้ง โดยมีการพิจารณาว่า

             เขตการเลือกตั้งใดให้พรรคเพื่อไทยลงและเขตการเลือกตั้งใดให้พรรคไทยรักษาชาติ การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักษาชาติ
             ถือเป็นปรากฏการณ์ในการปรับตัวของนักการเมืองตามกติกาการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป

                      จุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำาคัญยิ่งของพรรคไทยรักษาชาติ เกิดขึ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562

             เมื่อพรรคไทยรักษาชาติยื่นพระนาม ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในการเป็นผู้ดำารง
             ตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีในนามพรรค  ทำาให้ในเวลาต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติในวันที่ 12 กุมภาพันธ์
             2512 ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคไทยรักษาชาติ และในวันพฤหัสที่ 7 มีนาคม 2562 ตุลาการศาล

             รัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ พร้อมกับตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคห้ามลงรับสมัคร

             รับเลือกตั้ง จึงเป็นการยุติบทบาทของพรรคไทยรักษาชาติ



             6    จากการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้วิจัยกับนักการเมืองระดับสูงในพรรคเพื่อไทยหลายท่าน ซึ่งเป็น
             ผู้ที่มีอำานาจในการตัดสินใจในพรรคเพื่อไทย ซึ่งผู้วิจัยขอสงวนนามแหล่งข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94