Page 91 - kpiebook63028
P. 91

90       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี







             พฤติกรรมกำรหำเสียง: สื่อสังคม หรือ Social Media


             ในทำงกำรเมือง




                      การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการเลือกตั้ง ในรอบ 8 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศ
             ที่มีการพัฒนาบริบททางด้านสื่อสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม ในคราวการเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2554 ประกอบกับ

             พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561  ที่ห้ามการใช้สื่อของ
             พรรคการเมือง ที่ไม่สามารถหาเสียงผ่านทีวี และวิทยุได้ ทำาให้สื่อหลักของการหาเสียงครั้งนี้ คือ “สื่อออนไลน์”

             และ “สื่อนอกบ้าน” (Out Of Home)


                      สื่อนอกบ้านที่สำาคัญ และมีต้นทุนตำ่า คือ ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทาง Media Landscape
             รูปแบบการหาเสียงเปลี่ยนเงินโฆษณาพรรคการเมืองที่ใช้ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 โดยหลักไปใช้กับ

             สื่อหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 50/ สื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 46/  สื่อวิทยุ ร้อยละ 3 และสื่อนอกบ้านเพียงร้อยละ 1
             แต่สำาหรับการเลือกตั้ง ปี 2562 มีการคาดการณ์ว่าเม็ดเงินโฆษณาของพรรคการเมืองที่ใช้ในการหาเสียง

             โดยรวมจะอยู่ที่ 300 – 500 ล้านบาท แม้จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2554 แต่ความน่าสนใจครั้งนี้อยู่ตรงที่
             “Media Landscape” ของการสื่อสารพรรคการเมืองเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน






             บรรยำกำศกำรเคลื่อนไหวทำงกำรเมืองในจังหวัดชลบุรี

             ก่อนวันรับสมัครเลือกตั้ง




                      ผู้วิจัยของนำาเสนอ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของบรรยากาศการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปของกลุ่มการเมืองที่สำาคัญ ดังนี้ กลุ่มบ้านใหญ่ หรือพรรคพลังชล กลุ่มผู้สมัครเดิม
             ของพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ

             พรรคอนาคตใหม่ และกลุ่มพรรคอื่น
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96