Page 453 - kpiebook63010
P. 453

452      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      เพื่อไทยไม่มีคะแนนอยู่ในล�าดับที่ 4 และต�่ากว่าล�าดับที่ 4 เลย เมื่อเทียบกับผลงานของพรรคประชาธิปัตย์

             แล้วจะพบว่าเพื่อไทยนั้นมีผลงานในการเลือกตั้งในครั้งนี้สูงกว่าประชาธิปัตย์ทั้คะแนนรวม จ�านวนที่นั่ง คะแนน
             รายเขต และ ล�าดับคะแนนรายเขต ทั้งการส่งผู้สมัครไม่ครบเขต ผลคะแนนรวมก็น้อยลงกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

             แต่ได้ ส.ส. น้อยกว่าเดิมเพียง 1 คน


                      ในการวิเคราะห์พรรคเพื่อไทยในรอบนี้ จะขอเน้นไปที่การอยู่รอดและรักษาพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนา
             กลยุทธการเลือกตั้งของเพื่อไทยท่ามกลางแรงกดดันทางโครงสร้างและความเสียเปรียบในการจัดวางสถาบัน

             ของกระบวนการเลือกตั้ง ใน 3 ประเด็นใหญ่ คือ การจัดองค์กรภายใต้การน�าใหม่และการพัฒนายุทธศาสตร์
             ของพรรคเพื่อไทย ความเชื่อมโยงกับพรรคไทยรักษาชาติและพรรคอื่น ๆ ในฐานะการพัฒนากลยุทธและยุทธศาสตร์

             ของการเลือกตั้ง และความเกี่ยวเนื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562





                     4.3.2.1 การจัดองค์กรภายใต้การน�าใหม่และการพัฒนายุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย


                      พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่ได้รับผลกระทบทางการเมืองมากที่สุดนับจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557
             เนื่องจากในเวลานั้นพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคแกนน�ารัฐบาล และมีนางสาวยิงลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครบัญชีรายชื่อ

             หมายเลข 1 ของพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี การท�ารัฐประหารและการด�าเนินคดีด้วยค�าสั่งของคณะรัฐประหาร
             และค�าพิพากษาต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสภาพการน�าภายในพรรค นางสาวยิ่งลักษณ์ซึ่งถูก

             ฟ้องร้องด�าเนินคดีได้เดินทางออกนอกประเทศโดยไม่เข้าฟังค�าพิพากษา สมาชิกพรรคระดับผู้บริหารและแกนน�า
             ถูกด�าเนินคดี และถูกจ�ากัดสิทธิการเดินทางรวมทั้งการใช้จ่ายเงินส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การก้าวเข้ามามีบทบาท

             ในฐานะผู้น�าพรรคคนใหม่ของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  อดีตสมาชิกก่อตั้งและกรรมการบริหารของ
             พรรคไทยรักไทย หลังจากยุติบทบาททางการเมืองเมื่อครั้งการท�ารัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และถูกตัดสิทธิ์

             ทางการเมือง 5 ปีในฐานะเป็นกรรมการบริหารพรรค ท�าให้พรรคเพื่อไทยกลับมามีบทบาททางการเมือง
             อย่างกระตือรือล้นอีกครั้งหนึ่ง คุณหญิงสุดารัตน์ได้เข้ารับต�าแหน่งประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรค

             มิใช่ต�าแหน่งหัวหน้าพรรคซึ่งเป็นของ พลต�ารวจเอก วิโรจน์ เปาอินทร์ (จนกระทั่งหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
             ที่ประชุมพรรคจึงมีมติแต่งตั้ง นายสมพงษ์  อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่

             เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาได้เป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภา) นอกจากนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ยังได้รับ
             การเสนอชื่อให้เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่ออันดับ 2 ของพรรค (รองจาก พล.ต.อ. วิโรจน์ เปาอินทร์ หัวหน้าพรรค

             ซึ่งครองอันดับ 1)  และเป็นหนึ่งในสามผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรค ร่วมกับ
             นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ นายชัยเกษม นิติสิริ


                      การเข้ามามีบทบาทของคุณหญิงสุดารัตน์ในพรรคเพื่อไทยนอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของพรรค

             ในระดับประเทศโดยเฉพาะในเรื่องของจุดยืนทางประชาธิปไตยในการตอบโต้กับรัฐบาลของคณะรัฐประหาร
             ยังส่งผลส�าคัญให้กับการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากคุณหญิงสุดารัตน์เดิมเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทน

             ราษฎรของพรรคพลังธรรมในพื้นที่ย่านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร เมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ 18 เมื่อ 22 มีนาคม
   448   449   450   451   452   453   454   455   456   457   458