Page 454 - kpiebook63010
P. 454
453
พ.ศ. 2535 ในสังกัดพรรคพลังธรรม (เขต 12 มีนบุรี, บางเขน, หนองจอก, ดอนเมือง ยกเว้นแขวงทุ่งสองห้อง)
และหลังจากนั้นก็เป็น ส.ส. ผูกขาดของเขต 7 (บางกะปิ บึงกุ่ม) สังกัดพรรคพลังธรรมมาโดยตลอด (รวมทั้งหมด
4 สมัย รวมเขต 12 เมื่อครั้ง พ.ศ. 2535) รวมทั้งเป็นโฆษกพรรคพลังธรรม และ ต่อมาเป็นเลขาธิการพรรคพลัง
ธรรม เมื่อพ.ศ. 2537 และยังครองต�าแหน่งสมาชิกคนเดียวที่เหลือของพรรคพลังธรรมในการเลือกตั้งครั้งที่ 21
เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ กุมชัยชนะในกรุงเทพมหานครไว้ 29 ที่นั่ง
(ประชากรไทย 4 ที่นั่ง ความหวังใหม่ 2 ที่นั่ง และ ชาติพัฒนา 1 ที่นั่ง) และในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับ
ต�าแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม ในปี พ.ศ. 2537 คุณหญิงสุดารัตน์ก็ยังรับต�าแหน่งเลขาธิการพรรคพลังธรรม
ต่อมาคุณหญิงสุดารัตน์เข้าร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2541
และได้ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งครั้งที่ 6 เมื่อ 23 กรกฎาคม
2543 โดยได้รับคะแนนเป็นล�าดับ 2 (521,184 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 23.52) ขณะที่ผู้ชนะในครั้งนั้นคือ
นายสมัคร สุนทรเวช อดีต หัวหน้าพรรคประชากรไทย (คู่แข่งเดิมของ พรรคพลังธรรม) ซึ่งได้คะแนน 1,016,096
คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 45.85 และหลังจากนั้นคุณหญิงสุดารัตน์ก็เป็นผู้สมัครของพรรคในระดับบัญชีรายชื่อ
มาโดยตลอดจนกระทั่งพรรคไทยรักไทยถูกยุบเมื่อ พ.ศ. 2550
การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของคุณหญิงสุดารัตน์ในรอบนี้มีส่วนส�าคัญในการก�าหนดยุทธศาสตร์
ของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะกับเครือข่ายของคุณหญิงสุดารัตน์ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก
และภาคเหนือของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของพลังธรรมและพื้นที่ที่คุณหญิงสุดารัตน์มีเครือข่าย
นักการเมืองในพื้นที่อยู่เดิมและยังคงครองพื้นที่อย่างเหนียวแน่นแม้กระทั่งในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
เมื่อพ.ศ. 2554 ซึ่งประชาธิปัตย์ได้ชัยชนะถึง 23 ที่นั่ง และเพื่อไทยได้ 10 ที่นั่ง (พรรคเพื่อไทยได้เฉพาะส่วน
ฝั่งตะวันออกและเหนือของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นเขตดุสิต ราชเทวี) อาทิ นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
ในเขตสายไหม (11) ส่วนนักการเมืองหน้าใหม่อย่างนายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส เขตบางกะปิ วังทองหลาง (13)
ซึ่งแม้ไม่ได้รับชัยชนะแต่ก็มีคะแนนสูง โดยส่วนใหญ่คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 ในพื้นที่ นอกจากนี้ การอธิบาย
เครือข่ายของคุณหญิงสุดารัตน์อาจจะต้องเข้าใจว่าการท�างานพื้นที่นั้นจะต้องมีเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่น
ในระดับชุมชน สมาชิกสภาเขต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งการเลื่อนล�าดับขึ้นมาจากระดับ
สภาเขต สภากรุงเทพมหานคร และสภาผู้แทนราษฎร
การเข้ามามีบทบาทของคุณหญิงสุดารัตน์ในพรรคเพื่อไทย มิได้มีแต่ด้านที่สนับสนุนเท่านั้น แต่ยังมี
กระแสข่าวในส่วนของความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทยเอง อาทิ ข่าวลือที่ว่าคุณหญิงสุดารัตน์ไม่ได้รับต�าแหน่ง
หัวหน้าพรรคจะพิจารณาย้ายพรรค (ประชาไท 2561ก) กระแสข่าวลือเรื่อง ส.ส. ย้ายพรรคเพราะเกิดความขัด
แย้งกับคุณหญิงสุดารัตน์ และแกนน�าในพรรคบางคนไม่ยอมรับคุณหญิงสุดารัตน์ และพร้อมจะลาออก (Work-
point News 2561ค) หรือกระแสข่าวลือว่านางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ไม่สนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์ ขึ้นเป็นหัวหน้า
พรรค รวมถึงการขอต�าเเหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคก็ได้รับการปฏิเสธ (สายล่อฟ้า 2561) หรือ กระแสข่าวลือ
เรื่องความไม่ลงลอยของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บ�ารุงกับคุณหญิงสุดารัตน์ (Bright Today 2561)