Page 447 - kpiebook63010
P. 447
446 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
การกระท�าดังกล่าวของนายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมืองที่ประกาศจุดยืนไม่เอาทั้งเพื่อไทย
และ พลังประชารัฐที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี มีผลส�าคัญท�าให้ฐานเสียงเดิมของประชาธิปัตย์
ในกรุงเทพมหานครนั้นน่าจะเทคะแนนไปที่สองพรรคการเมืองใหญ่ คือ พรรคพลังประชารัฐ และ พรรคอนาคตใหม่
จากสมมุติฐานส�าคัญสองประการนอกเหนือจากการสัมภาษณ์ทั้งตัวผู้สมัครบางเขตและความเห็นของประชาชน
ได้แก่
ก. คู่ความขัดแย้งที่ส�าคัญที่สุดของประชาธิปัตย์คือเพื่อไทย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้
หรือไม่มีนัยยะส�าคัญที่ผู้ที่เคยลงคะแนนให้พรรคประชาธิปปัตย์นั้นจะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย ทั้งนี้
ด้วยเหตุผลส�าคัญก็คือ พรรคประชาธิปัตย์และผู้สนับสนุนของพรรคนั้นมีส่วนส�าคัญในการต่อต้านระบอบ
ทักษิณมาตั้งแต่สมัยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนถึง คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่สมาชิก
ของพรรคมีส่วนร่วมทางตรงในการก่อตั้งและเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จนน�าไปสู่การท�ารัฐประหาร
เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
คะแนนของประชาธิปัตย์นั้นมีแนวโน้มที่จะเทไปให้พลังประชารัฐทั้งในแง่จุดยืนทางการเมืองที่ดู
จะมีความเข้มข้นกว่าในการจัดการกับเพื่อไทยโดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เมื่อข้อความรณรงค์ในช่วงโค้งสุดท้าย
ของการรณรงค์ของพรรคพลังประชารัฐคือ “เลือกความสงบจบที่ลุงตู่” นอกจากนี้ แล้วยังมีบุคคลากร
ของพรรคประชาธิปปัตย์ส่วนหนึ่งที่ย้ายพรรคไปลงสมัครให้กับพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งน่าจะน�าคะแนนสนับสนุน
ส่วนบุคคลของตนไปด้วย (จะได้อภิปรายเพิ่มเติมในส่วนของการวิเคราะห์พรรคพลังประชารัฐ)
ข. โดยธรรมชาติของโครงสร้างประชากรทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์มักจะเป็นที่นิยมของ
ผู้ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งแรก (first time voter) ในการเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มา ดังนั้น ในรอบนี้
พรรคประชาธิปปัตย์น่าจะเสียคะแนนในส่วนนี้จ�านวนไม่น้อยไปที่พรรคอนาคตใหม่ที่มีจุดยืนต่อต้านทั้ง
พลเอกประยุทธ์ในฐานะผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพลังประชารัฐ และ ต่อต้านระบอบการปกครองโดย
คณะรัฐประหารที่พลเอกประยุทธ์นั้นเป็นทั้งหัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
ทั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่อยู่ในพรรคที่เรียกว่า “กลุ่มนิวเด็ม” แต่ก็ไม่ได้คะแนนเสียงมากนัก
การหันไปเลือกพรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคอื่น ๆ ในส่วนนี้อาจจะเกิดจากกรณีของฐานเสียงของประชาธิปัตย์
เดิมที่เริ่มไม่พอใจผลงานของรัฐบาลรัฐประหารในรอบห้าปีที่ผ่านมา แต่ไม่คิดว่าจะหันไปเลือกพรรคเพื่อไทย
4.3.1.2 การพ่ายแพ้เพราะความเข้มแข็งเชิงสถาบันของพรรคประชาธิปัตย์เอง
เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์นั้นครองอ�านาจยาวนานในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งในระดับสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร ซึ่งเมื่อการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2554 มีจ�านวนทั้งหมด 23 จาก 33 เขต และผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปปัตย์มาตั้งแต่ปี 2547 มาจนถึงปี 2559 และยังมีจ�านวนสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานคร (ครั้งล่าสุดคือ พ.ศ. 2553) ถึง 46 คนจาก 61 คน