Page 73 - kpiebook62009
P. 73

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562




                            ขั้นตอนที่ 2 : การประเมินผลการปฏิบัติงาน

                            การประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครเข้าร่วมโครงการางวัล
               พระปกเกล้า ในขั้นตอนที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

                            1) การประเมินความพึงพอใจและความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่น (อปท.)
                            2) การประเมินจากการสนทนากลุ่ม หรือการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

               อปท. คณะนักวิจัยฯ ได้เล็งเห็นถึงการใช้ผู้ช่วยนักวิจัยท้องถิ่นหรือนักวิจัยในพื้นที่ เพื่อทำการเก็บข้อมูลผล

               การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคณะนักวิจัยฯ จะมีการสร้างมาตรฐานของทีมในแต่ละ
               ภาค โดยการใช้เครื่องมือต่อไปนี้ ได้แก่ การใช้ทีมส่วนกลางร่วมลงพื้นที่ด้วย การใช้ผู้ช่วยนักวิจัยท้องถิ่น

               และการจัดทำคู่มือ ซึ่งจะเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้ช่วยนักวิจัยท้องถิ่นหรือนักวิจัยท้องถิ่น ได้ถือปฏิบัติตามใน

               การประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางของ
               ทีมในแต่ละภาคอีกด้วย และก่อนการลงพื้นที่ประเมินผลการปฏิบัติงานจะมีการประชุมทีมงานวิจัยทั้ง

               ส่วนกลางและภาค เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันและประเมินผลการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันอีกด้วย

               นอกจากนี้ การสร้างมาตรฐานดังกล่าวถือได้ว่าส่งผลให้การประเมินผลการปฺฏิบัติงานปราศจากอคติ (Bias)
               เนื่องจาก ผู้ช่วยนักวิจัยท้องถิ่นหรือนักวิจัยท้องถิ่นจะได้รับคู่มือชุดเดียวกันกับคณะนักวิจัยจากส่วนกลาง

               และภาคอื่นๆ ด้วย

                            สำหรับวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครเข้าร่วม
               โครงการรางวัลพระปกเกล้าทั้ง 3 ประเภทใช้วิธีการเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

                            1.  การประเมินความพึงพอใจและความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม
               ข้อมูล

                            2.  การประเมินจากการสนทนากลุ่ม หรือการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
               อปท.

                            สำหรับการสนทนากลุ่มจะมุ่งเป้าหมายไปที่การสอบถามโครงการ/กิจกรรมที่สะท้อนถึง

               การจัดบริการสาธารณะที่ท้าทายและมีความเป็นนวัตกรรมท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดี โดยมีหลักเกณฑ์
               ดังนี้

                            1) เป็นโครงการ/กิจกรรมที่คิดใหม่หรือต่อยอด

                            2) เป็นโครงการ/กิจกรรมที่แก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างชัดเจน
                            3) เป็นโครงการ/กิจกรรมที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของประชาคมและภาคส่วนอื่นๆ

                            4) เป็นโครงการ/กิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าต่อชุมชน/สังคม

                            5) เป็นโครงการ/กิจกรรมที่มีความต่อเนื่องยั่งยืน





                                                          32
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78