Page 68 - kpiebook62009
P. 68
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
เอกชน และประชาสังคม และเพื่อให้การดำเนินการประเมินมีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยใช้
วิธีการศึกษาหลายวิธีทั้งการใช้ข้อมูลจากเอกสารใบสมัคร และหลักฐานเอกสารที่แนบมาพร้อมใบสมัคร
ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ข้อมูล
สุ่มตรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำผลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการในหลายขั้นตอน โดย
มีขอบเขตการประเมินผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ 2561 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30
กันยายน 2561)
ขั้นตอนตามแนวทางการประเมินผล มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินผลขั้นต้น : การพิจารณาผลเบื้องต้นจากเอกสารใบสมัครตามตัวชี้วัด
ขั้นพัฒนา พร้อมหลักฐานที่แนบในใบสมัคร และการลงพื้นที่ภาคสนามตรวจผลการปฏิบัติงานของ อปท.
ตามตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน
การตรวจเอกสารการประเมินผลขั้นต้น (รอบที่ 1) คณะผู้วิจัยฯ ทำการตรวจสอบคุณสมบัติ
จากใบสมัครรางวัลพระปกเกล้า ตามตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (Audit Indicators) และ ตัวชี้วัดขั้นพัฒนา
(Performance Indicators) ซึ่งในปี 2562 จะปรับรูปแบบการประเมินผลขั้นต้น (รอบที่ 1) ออกเป็น 2
ส่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนข้อคำถามในใบสมัครฯ (ส่วนที่ 1) เพื่อความสะดวกในการกรอก
ข้อมูลใบสมัครฯขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประเมินทั้ง 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การประเมินจากใบสมัครรางวัลพระปกเกล้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กรอก
ข้อมูลและส่งกลับมายังสถาบันพระปกเกล้า คณะวิจัยฯ จะคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่าน
ตัวชี้วัดขั้นพัฒนา ตามคะแนน T-score ที่กำหนดไว้
ส่วนที่ 2 การประเมินภาคสนามโดยนักวิจัยฯ จะทำการลงพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่
ผ่านการประเมินจากใบสมัครฯ (ส่วนที่ 1) เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (Audit Indicators) โดยใช้แบบตรวจประเมินการปฏิบัติงานขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทรางวัล
และมีการให้คะแนน โดยกำหนดค่าน้ำหนัก แต่ละหมวดของใบสมัคร เพื่อกำหนดค่าคะแนนใน
หมวดที่มีความสำคัญและตรงกับประเภทรางวัลแต่ละประเภท ดังนั้น เกณฑ์การให้คะแนนขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้ในขั้นประเมินผลเมื่อ อปท. ที่สมัครเข้าร่วมโครงการได้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตัวชี้วัดขึ้นพื้นฐานแล้ว โดยมีการกำหนดสัดส่วนการให้คะแนนของแต่ละหมวด ทั้ง 3 ประเภทรางวัล โดยมี
เกณฑ์พิจารณาสัดส่วนค่าน้ำหนัก (Weight) คะแนนของแต่ละหมวด ดังนี้
ดังนั้น สัดส่วนการให้คะแนนแต่ละประเภทรางวัลมีการกำหนดค่าน้ำหนัก (Weight) ของ
คะแนน ดังนี้
1) รางวัลที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน:
กำหนดสัดส่วนการให้คะแนนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด/เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
หมวดที่ 1 การจัดทำแผนและการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีค่าน้ำหนักของคะแนน
เป็นร้อยละ 10 ของคะแนนรวมทั้งหมด
27