Page 63 - kpiebook62009
P. 63

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562




               ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน การแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน อันถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเสริมสร้าง

               เครือข่าย ซึ่งมีตัวชี้วัดจำแนกออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
                              หมวดที่ 1 ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน เป็นการพิจารณาประเมินจากภารกิจที่บังคับให้องค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกระทำ หรือต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบ และกฎหมาย เช่น

               แต่งตั้งตัวแทนประชาชนเป็นคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เปิดเผยรายรับรายจ่าย
               การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น ซึ่งในหมวดนี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปิดโอกาสให้ประชาชน

               สามารถตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกับ

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้นเครือข่ายภาคประชาชน
                              หมวดที่ 2 การจัดการองค์กรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม

               เป็นการพิจารณาประเมินภาวะผู้นำ การให้ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร

               งบประมาณ กลไกการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับภารกิจในการส่งเสริมให้
               เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยพิจารณาจาก วิสัยทัศน์ นโยบายของผู้บริหาร เชื่อมโยงมา

               สู่การกำหนดยุทธศาสตร์ ว่ามีการให้ความสำคัญในประเด็นการดำเนินงานแบบเครือข่ายเพียงใด ตลอดจน

               พิจารณาถึงความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการและความร่วมมือแบบเป็นทางการในลักษณะบันทึกข้อตกลง
               ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หรือการเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่ม สมาคมต่างๆ

               ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังพิจารณาว่ามีการจัดทำฐานข้อมูลของเครือข่าย

               และพัฒนาการของเครือข่ายที่มีอยู่เป็นอย่างไร ก้าวหน้าและทันสมัยเพียงไร
                              หมวดที่ 3 การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะที่ตอบสนองความท้าทายใหม่ เป็น

               การพิจารณาจากการทำงานเชิงรุกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับกับภารกิจ ท้าทายใหม่ๆ

               ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และสะท้องถึงการบริหารงานที่เน้นคุณภาพการให้บริการและ
               แก้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ อาทิ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การจัดทำผังเมืองและ

               ปรับภูมิทัศน์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังทดแทน การป้องกันและ
               บรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย การแก้ไขภัยพิบัติทางธรรมชาติ การอนุรักษ์

               ศิลปวัฒนธรรมและการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญา การเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น

                              หมวดที่ 4 การส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน เป็นการพิจารณา
               ประเมินกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน ทั้งในรูปแบบการส่งเสริม

               การเรียนรู้โดยทั่วไป การเสริมสร้างความสามารถเฉพาะทาง การปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ ค่านิยมอื่นๆ

               และที่สำคัญการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน
               เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น ตลอดจน

               เสริมสร้างการทำงานในรูปแบบเครือข่ายได้เป็นอย่างดี







                                                          22
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68