Page 59 - kpiebook62009
P. 59
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
และที่สำคัญการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน
เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่นอย่างมี
คุณภาพ และขจัดความขัดแย้งในสังคม
หมวดที่ 5 โครงการ/กิจกรรมที่โดดเด่นเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างสันติสุขและ
ความสมานฉันท์ เป็นการพิจารณาประเมินโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แสดงถึง
การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์อย่างโดดเด่นเป็นเลิศ เพื่อเป็นตัวอย่างการบริหารงานและ
การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมประกอบการพิจารณารางวัล
ซึ่งทั้ง 5 หมวด มีตัวชี้วัดสำคัญที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป็นตัวชี้วัด
ขั้นพื้นฐาน (Audit Indicators) และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา (Performance Indicators) โดยมีการจัดทำกรอบ
ตัวชี้วัดเพื่อใช้ประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และเมืองพัทยา ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน ซึ่งได้ยึดหลักการแบ่งตาม
ภารกิจและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- นโยบายของ อปท. ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
- บุคลากรมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
- การมีกลไกรูปแบบต่างๆ ภายในหน่วยงานเพื่อเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
- การมีแผนและดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมให้เกิดความสันติสุขและ
สมานฉันท์
- การประยุกต์ใช้ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
- การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
- การปลูกฝังค่านิยมด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
- ประสบการณ์แก้ไขข้อพิพาทกับประชาชน
- กรณีศึกษาที่เป็นเลิศด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
ตารางที่ 1.3
ตัวชี้วัดด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด
ขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนา
หมวด 1 ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน : ภารกิจที่ต้องทำตามระเบียบ
1. อปท. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัด/ชุมชนหรือ ✓
หมู่บ้าน/ตำบล เป็นคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และมีการจัดประชุมคณะกรรมการ
พัฒนาท้องถิ่น
18