Page 58 - kpiebook62009
P. 58

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                                 ประเภทที่  2 รางวัลความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์

                  แบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ (1) มิติด้านสังคม เป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เสริมสร้าง
                  ความสามัคคีในชุมชนท้องถิ่น และการคุ้มครองสิทธิทางสังคม (2) มิติด้านกฎหมาย อาทิ การไกล่เกลี่ย

                  ข้อพิพาทร่วมกัน หรือการใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชน หรือการรวมกลุ่มบุคคลที่น่าเคารพเชื่อถือของ

                  ชุมชน อาทิ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ ในชุมชน อย่างไรก็ตาม
                  การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมายอย่างเป็นทางการ แต่สามารถ

                  ใช้กฎหมู่บ้าน กฎชุมชน หรือมาตรการหมู่บ้าน เข้ามาช่วยในการเสริมสร้างได้ในอีกทางหนึ่ง

                  ซึ่งมีการจำแนกตัวชี้วัดออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
                                 หมวดที่ 1 ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน เป็นการพิจารณาประเมินจากภารกิจที่บังคับให้องค์กร

                  ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกระทำ หรือต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบ และกฎหมาย เช่น

                  แต่งตั้งตัวแทนประชาชนเป็นคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เปิดเผยรายรับรายจ่าย
                  การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น ซึ่งในหมวดนี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปิดโอกาสให้ประชาชน

                  สามารถตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกับ

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งในระดับเบื้องต้น
                                 หมวด 2 การจัดการองค์กรเพื่อการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ เป็นการพิจารณา

                  ประเมินภาวะผู้นำ การให้ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร งบประมาณ กลไก

                  การดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดสันติสุขและ
                  ความสมานฉันท์ โดยพิจารณาจาก วิสัยทัศน์ นโยบายของผู้บริหาร เชื่อมโยงมาสู่การกำหนดยุทธศาสตร์

                  ตลอดจนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการในแต่ละปี ว่ามีการให้ความสำคัญในประเด็นการบริหาร

                  จัดการความขัดแย้งและการเสริมสร้างสันติสุขสมานฉันท์ เพียงใด นอกจากนี้ ยังพิจารณาจากข้อมูลสถิติ
                  ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรง หรือสถานการณ์ความขัดแย้งภายในชุมชนท้องถิ่น ที่จะใช้เป็น

                  ข้อมูลสำคัญในการวางนโยบายการทำงานด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์อีกด้วย
                                 หมวดที่ 3 การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะที่ตอบสนองความท้าทายใหม่

                  เป็นการพิจารณาจากการทำงานเชิงรุกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับกับภารกิจท้าทาย

                  ใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และสะท้องถึงการบริหารงานที่เน้นคุณภาพการให้บริการและ
                  แก้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ อาทิ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การจัดทำผังเมืองและ

                  ปรับภูมิทัศน์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังทดแทน การป้องกันและ

                  บรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย การแก้ไขภัยพิบัติทางธรรมชาติ การอนุรักษ์
                  ศิลปวัฒนธรรมและการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญา การเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น

                                 หมวดที่ 4 การส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน เป็นการพิจารณา

                  ประเมินกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน ทั้งในรูปแบบการส่งเสริม
                  การเรียนรู้โดยทั่วไป การเสริมสร้างความสามารถเฉพาะทาง การปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ ค่านิยมอื่นๆ



                                                             17
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63